INSURANCETHAI.NET
Fri 19/04/2024 21:16:12
Home » ความรู้รถยนต์ » การดูแลรักษารถยนต์ 29 วิธี\"you

การดูแลรักษารถยนต์ 29 วิธี

2014/03/02 789👁️‍🗨️

carcare29

ข้อที่ 1

(ผิด) สตาร์ทแล้วออกรถได้เลยไม่ต้องอุ่นเครื่อง
(ถูก) อุ่นเครื่องยนต์สักหน่อยก่อนออกรถจะดีกว่า

เมื่อเครื่องยนต์ทำงานขณะที่ยังเย็นอยู่ เช่น ขณะออกรถจากบ้านไปทำงานตอนเช้าหรือติดเครื่องยนต์ เมื่องานเลิกเพื่อกลับบ้านไอของเชื้อเพลิงที่เข้มข้นจะเกาะผนังกระบอกสูบและละลายปนกับฟิล์มน้ำ มันเครื่องที่ฉาบผนังอยู่ทำให้การหล่อลื่นแหวนลูกสูบกับผนังกระบอกสูบไม่เพียงพอ สร้างความสึกหรอกในเครื่องยนต์มากกว่าปกติ
นอกจากนี้ทั้งเชื้อเพลิงที่ระเหยไม่หมดและไอน้ำที่เกิดจากการเผาไหม้ขณะเครื่องยังเย็นนี้ ยังละลายปนอยู่ในน้ำมันเครื่อง ทำให้น้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพเร็วขึ้นอีกด้วย

ข้อที่ 2
(ผิด) รถใหม่สมัยนี้ ไม่ต้อง รันอิน
(ถูก) รถใหม่ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ ต้องรันอิน

รถรุ่นใหม่ๆ แม้จะมีการควบคุมคุณภาพอย่างดีแล้วก็ตามแต่เครื่องยนต์ใหม่ควรต้องผ่านการรันอิน และ เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องสักครั้งก่อนที่จะใช้งานอย่างเต็มที่ เพราะเศษโลหะที่ตกค้างอยู่ในระบบจะได้ถูกชะล้างออกไป

การรันอินนั้นทำได้ไม่ยาก โดยในช่วง 1,000 กม. แรกไม่เร่งเครื่องยนต์อย่างรุนแรง หรือใช้รอบเครื่องยนต์ที่สูงมาก ๆ ถ้าใช้รอบเครื่องไม่เกิน 3,000 รตน.(รอบต่อนาที) ได้ก็จะดีและเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามระยะที่ผู้ผลิตกำหนด พูดถึงเรื่องนี้เคยมีผู้ใช้รถบางคนไม่นำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจเช็ค โดยให้เหตุผลว่า เสียเวลา เปลี่ยนน้ำมันเครื่องทำที่ไหนก็ได้อย่างนี้ น่าเสียดาย แทนจริง ๆเพราะถ้าเกิดความเสียหายกับเครื่องยนต์จะเรียกร้องเอากับใคร

ข้อที่ 3
(ผิด) ยกขาก้านปัดน้ำฝนขณะจอดรถช่วยยืดอายุใบปัด
(ถูก) สปริงในก้านที่ปัดน้ำฝนจะอ่อน และเสียเร็วขึ้น

ส่วนสำคัญที่ทำให้ที่ปัดน้ำฝนทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพประกอบด้วยใบปัดแผ่นยางซึ่งทำหน้าที่รีดน้ำจากกระจกบังลมหน้า ปกติจะมีอายุการใช้งานประมาณ 1 ปี หากใช้นานกว่านั้นเนื้อยางจะแข็งตัวหรือมีการฉีกขาด ไม่ว่าจะยกไว้หรือไม่ก็ตาม
อีกส่วนคือ ก้านใบปัด ที่มีสปริงคอยดึงให้ใบปัดแนบสนิทกับกระจกซึ่งรับแรงจากคันโยก และมอเตอร์ ตัวนี้มีราคาสูงกว่าใบปัด การยกก้านเมื่อจอดตากแดดสปริงจะถูกดึงให้ยืดออกตลอดเวลาอายุการใช้งานสั้นลง ทำให้ต้องจ่ายแพงกว่าเดิมหลายเท่าถ้าต้องเปลี่ยนทั้งชุด

ข้อที่ 4

(ผิด) รถติดไฟแดงคาเกียร์ D ไว้ดีกว่าเปลี่ยนเกียร์ว่าง
(ถูก) หยุดรถก็โอเค แต่ถ้าติดไฟแดงนานก็ต้องระวังชนคันหน้า

ในกรณีรถติดไฟแดง ผู้ขับรถที่ใช้เกียร์ธรรมดาจะปลดเกียร์ว่างและเหยียบเบรคป้องกันรถไหล คงจะไม่มีใครเหยียบคลัทช์ และเบรค ใส่เกียร์คาไว้ให้เมื่อยขา ขณะที่ผู้ขับรถเกียร์อัตโนมัติ กลับมาพฤติกรรมที่แตกต่างกัน กลุ่มแรก เหยียบเบรคโดยคาเกียร์ไว้ที่ตำแหน่ง D กลุ่มที่ 2เบรคเหมือนกัน แต่เลื่อนตำแหน่งคันเกียร์มาที่เกียร์ว่าง N กลุ่มสุดท้าย ดัดคันเกียร์มาอยู่ที่ P ไม่เหยียบเบรค
ถ้าติดไฟแดงนาน ๆ กลุ่มแรก ต้องระวังมากที่สุดเพราะถ้าขยับตัวแล้วเท้าหลุดจากแป้นเบรค รถอาจพุ่งไปชนคันหน้า กลุ่มที่ 2 เบาหน่อยแค่เมื่อย ส่วนกลุ่มสุดท้ายสบายใจได้แต่อาจจะไม่สะดวกกับการใช้งานวิธีดีที่สุดคือ เกียร์ว่าง และดึงเบรคมือ

ข้อที่ 5

(ผิด) ฝนตกขับ 4 ล้อเกาะกว่า…2 ล้อ
(ถูก) อย่าใช้ระบบขับเคลื่อนผิดประเภท จะได้ไม่ต้องเสียใจ

ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อนั้นอาจจะช่วยให้รถเกาะถนนมากกว่าระบบขับเคลื่อน 2 ล้อแต่สำหรับรถที่ใช้ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อแบบพาร์ทไทม์หรือ ตามต้องการ ในรถพิคอัพหรือพีพีวีที่มีชุดส่งกำลังแยกเพื่อส่งกำลัง ไปยังล้อหน้า กำลังจากล้อหลังจะถูกแบ่งมายังล้อหน้า อาการท้ายปัดหรือล้อหลังฟรีก็จะน้อยลง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเกาะถนนดี เมื่อต้องเลี้ยวในความเร็วสูงล้อหน้าที่ถูกล็อคให้หมุนจะเลี้ยวได้น้อยลง ทำให้ต้องใช้วงเลี้ยวที่กว้างขึ้นจึงมีรถประเภทนี้หลุดโค้งให้เห็นกันเป็นประจำ
ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อแบบพาร์ทไทม์มีไว้เพื่อช่วยให้รถสามารถผ่านทางทุรกันดารได้ง่ายขึ้น ต่างกับพวกที่เป็นฟูลล์ไทม์หรือ ตลอดเวลา ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการยึดเกาะถนน

ข้อที่ 6

(ผิด) เดินทางไกลลมยางอ่อนดี
(ถูก) ลมน้อย ยางมีโอกาสระเบิด

คู่มือการใช้และดูแลรักษายางรถยนต์ไม่ว่าจะเป็นค่ายไหนก็แนะนำตรงกันว่าผู้ใช้รถควรเติมลมยางตามมาตรฐานที่ผู้ผลิตรถยนต์กำหนดไว้ และให้เพิ่มแรงดันลมยางให้สูงขึ้นอีก 2-3 ปอนด์ เมื่อต้องเดินทางไกลลมยางที่อ่อนกว่ามาตรฐานกำหนด นอกจากจะทำให้ยางด้านนอกสึกมากกว่าด้านในแล้วยังอาจส่งผลเสียกับ โครงสร้างยางได้ มีโอกาสเกิด ยางระเบิดมากกว่าหรือใกล้เคียงกับยางที่มีแรงดันลมยางเกินกำหนด เพราะอุณหภูมิความร้อนที่เกิดจากการเสียดสีของหน้ายางและฉีกขาดได้ง่าย

ข้อที่ 7
(ผิด) ตั้งศูนย์ล้อหน้าอย่างเดียวก็พอ
(ถูก) ทุกล้อมีความสำคัญ ตั้งศูนย์ล้อควรทำทั้ง 4 ล้อ

เชื่อหรือไม่ว่า ศูนย์ล้อหลังมีความสำคัญพอ ๆ กับศูนย์ล้อหน้า หรืออาจจะมากกว่า เพราะมุมที่ล้อหลังเอียงไปเพียงเล็กน้อย ก็อาจทำให้รถเสียสมดุลเมื่อเบรคหรือเลี้ยวและทำให้รถเลี้ยวไปมากกว่าที่คิด
รถยนต์ส่วนใหญ่จะปรับตั้งศูนย์ล้อได้หน้า/หลัง ยกเว้นรถขับเคลื่อนหน้าบางรุ่นที่ปรับได้แต่เฉพาะล้อหน้าเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถตั้งศูนย์ล้อหลัง ก็ต้องทำใจ

ข้อที่ 8
(ผิด) เปิดสัญญาณไฟฉุกเฉินข้ามแยก
(ถูก) เวลาข้ามแยก รอให้รถว่าง และไม่เปิดไฟฉุกเฉิน

ถ้าคุณเปิดไฟฉุกเฉิน รถทั้งด้านซ้าย/ขวา ต่างก็จะเห็นสัญญาณไฟเลี้ยวเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น รถทางขวาอาจจะจอดให้ไปแต่สำหรับทางซ้ายอาจคิดว่าคุณจะเลี้ยวซ้ายจึงไม่หยุดให้อุบัติเหตุจึงเกิดขึ้นด้วยความเข้าใจผิด จากการใช้สัญญาณไฟแบบผิดที่ผิดทาง

ข้อที่ 9
(ผิด) ฝนตกหนัก หรือหมอกลงจัดต้องเปิดไฟฉุกเฉิน
(ถูก) อาจสร้างความสับสนให้ผู้ร่วมทาง ไฟฉุกเฉินใช้เวลาจอดฉุกเฉิน

ใน สภาพอากาศที่ไม่ดี และทัศนวิสัยแย่มาก จนมองแทบไม่เห็นรถคันหน้าการชะลอความเร็ว เปิดไฟหน้าและทิ้งระยะห่างจากรถคันหน้าให้มากขึ้น เป็นสิ่งที่ควรทำแต่การใช้สัญญาณไฟฉุกเฉิน ทำให้รถที่วิ่งสวนทางมาเข้าใจผิดคิดว่ามีรถจอดเสียอยู่ทางซ้ายริมถนน และหักหลบไปทางขวา ซึ่งเป็นไหล่ทาง กว่าจะเห็นอาจจะสายเกินไปไม่ลงไปข้างทางก็อาจพุ่งข้ามช่องทางมาชน หรือถ้าหยุดรถก็ขวางทาง และเกิดอุบัติเหตุ การใช้สัญญาณไฟฉุกเฉิน หรือไฟผ่าหมาก ควรใช้เฉพาะเวลาที่รถเสียและต้องจอดอยู่ริมถนน เพื่อบอกให้เพื่อนร่วมทางที่สัญจรผ่านไปมา ใช้ความระมัดระวัง

ข้อที่ 10
(ผิด) ผ้าเบรคแข็ง หรือ ผ้าเบรคเนื้อแข็ง ไม่ดี
(ถูก) ไม่แน่เสมอไป ขึ้นอยู่กับความต้องการ

ความเข้าใจผิด ๆ เรื่อง ผ้าเบรค ที่ว่าผ้าเบรคอ่อนดีกว่าแข็งเกิดจากบรรดาช่างซ่อมรถที่ไม่ได้อธิบายให้เจ้าของรถเข้าใจ

การผสมเนื้อผ้าเบรคให้ใช้งานได้ดี เป็นศาสตร์ชั้นสูง ใช้วัสดุนานาชนิดและมีส่วนที่แตกต่างกัน ซึ่งจะมีผลต่อคุณสมบัติของผ้าเบรค และมักจะขัดแย้งกันเองถ้าเน้นข้อดีข้อใดขึ้นมาก็มักจะมีข้ออื่นด้อยลงไป เช่น การใช้ส่วนผสมที่เบรคหยุดดี ก็จะกินเนื้อจานเบรคมาก หรือร้อนจัด หรือไม่เนื้อผ้าเบรคก็สึกเร็วพอทำให้สึกช้า ก็แข็ง เบรคไม่ค่อยอยู่ หรือมีเสียงรบกวน ส่วนผ้าเบรคเนื้ออ่อนที่มีจุดเด่นเรื่องไม่กัดกินเนื้อจานเบรค

ข้อที่ 11
(ผิด) เอนนอนขับแบบนักแข่ง…สบายที่สุด
(ถูก) อย่าปรับเบาะเอนมาก จะได้ไม่เมื่อย

ท่า ขับแบบนักแข่งตัวจริง ต่างกับการปรับเบาะเอนนอนขับมากการนั่งท่านี้จะรู้สึกว่าจะหลุดจากเบาะนั่ง ทุกครั้งที่เบรคแรง ๆ แขนที่เหยียดตึงตลาดเวลานอกจากจะทำให้เมื่อยล้ายังต้องยกตัวขึ้นเมื่อถึง เวลาที่ต้องเลี้ยวเพราะไม่มีแรงหมุนพวงมาลัย และมองทางข้างหน้าไม่เห็นเช่นเดียวกับเวลาถอยหลังจอด สายเข็มขัดนิรภัยที่อยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าการนั่งขับแบบปกติอาจจะรั้งคอ แทนที่จะเป็นไหล่เมื่อเกิดอุบัติเหตุท่านั่งที่ถูก ต้องเอาหลังพิงพนักจนสนิทแล้วเหยียดแขนข้างใดข้างหนึ่งไปวางบนส่วนบนสุดของ พวงมาลัยแล้วตรงกับข้อมือ ขาต้องสามารถเหยียบแป้นคลัทช์จนจมโดยไม่ต้องเหยียดข้อเท้าสุดแบบนักบัลเลท์ ส่วนต้าของขาอ่อนดันกับเบาะนั่งส่วนหน้าจนรู้สึกว่าน้ำหนักตัวที่ลงตรงสะโพก พอดี และยังสัมผัสกับพนักพิง

ข้อที่ 12

(ผิด) นั่งชิดพวงมาลัยเพื่อให้มองเห็นหน้ารถ
(ถูก) อันตราย ตัวอาจกระแทกกับพวงมาลัยบาดเจ็บ

ผู้ที่นั่งใกล้พวงมาลัยเกินไป มักเป็นผู้ที่ไม่ค่อยให้ความสนใจกับเรื่องความปลอดภัยในการขับรถ และได้รับการ สอนท่านั่งมาแบบผิด ๆ ลำตัวที่อยู่ชิดกับพวงมาลัย นอกจากจะทำให้หมุนพวงมาลัยไม่ถนัดเพราะแขนงอมากเกินไป ยังเพิ่มความเสี่ยงให้แกตัวผู้ขับที่อาจจะบาดเจ็บจากการที่ลำตัวกระแทกกับ พวงมาลัย และแรงระเบิดจากถุงลมนิรภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

ข้อที่ 13

(ผิด) สอดมือหมุนพวงมาลัยถนัด เบาแรง และปลอดภัย
(ถูก) ไม่ถนัดจริง และอันตราย ไม่ควรทำ

การหงายมือล้วงหรือสอดมือจับพวงมาลัย เพื่อเลี้ยวรถเป็นการออกแรงดึงเข้าหาตัว จึงทำให้รู้สึกว่าออกแรงน้อยกว่าการจับแบบคว่ำมือหมุน แต่การทำแบบนั้นมี อันตราย มาก ถ้าหากล้อหน้าเกิดสะดุดก้อนหินและเกิดมือหลุดจากพวงมาลัย

ข้อที่ 14

(ผิด) เกียร์ ซีวีที ขับยากและกินน้ำมันกว่าเกียร์ทั่วไป
(ถูก) ขับง่ายและประหยัดน้ำมันกว่าเกียร์อัตโนมัติทั่วไป

การไม่สามารถเข้าใจเหตุผล ก็กลายเป็นปัญหาใหญ่ ผู้ที่ขับรถใช้เกียร์ซีวีทีบอกว่าขับแล้วรู้สึกเหมือนขับรถที่เกียร์ หรือระบบขับเคลื่อน มีปัญหา ให้ความรู้สึกที่ไม่ดีโดยเฉพาะตอนที่ขับด้วยความเร็วคงที่แล้วกดคันเร่ง เพิ่ม เกียร์จะเลือกอัตราทดที่เหมาะ ทำให้ความเร็วเครื่องยนต์เพิ่มขึ้นทันที แต่ความเร็วรถยังเท่าเดิม ให้ความรู้สึกเหมือนรถคลัทช์ลื่น

การขับแบบประหยัดเชื้อเพลิง ให้เหยียบคันเร่งไม่ลึกนักขณะออกรถและรักษาระยะที่เหยียบไว้ ช่วงแรกเครื่องยนต์จะส่งกำลังผ่านทอร์คคอนเวอร์เตอร์ พอล้อรถหมุนเร็วพอสมควรและไม่ต้องการความช่วยเหลือจากทอร์คคอนเวอร์เตอร์ แล้วระบบต่อตรงส่งกำลังจากเครื่องยนต์ไปยังจานทรงกรวย ตัวขับก็จะทำงาน จากนั้นระบบควบคุมจะลดระยะห่างของจานทรงกรวยคู่ที่เป็นตัวขับเป็นการลดอัตรา ทด เพื่อเพิ่มความเร็วรถ โดยที่ความเร็วของเครื่องยนต์ค่อนข้างคงที่ ยกตัวอย่างเช่นประมาณ1,800 รตน.ความเร็วจะเพิ่มขึ้นตาม ส่วนเดียวกับที่อัตราทดของเกียร์ลดลงจะได้ความเร็วประมาณ 60-70 กม./ชม. ซึ่งเป็นความเร็วสูงสุดของการเหยียบคันเร่งของเราเท่านี้เยี่ยมไหมครับ

ข้อที่ 15
(ผิด) ต้องเปลี่ยนไส้กรองทุกครั้งที่เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง
(ถูก) ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนทุกครั้ง แต่ถ้าเปลี่ยนได้ก็ดี

ผู้ผลิตรถยนต์จากยุโรป แนะนำให้เปลี่ยนพร้อมกับการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุกครั้ง แต่โรงงานผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อย แนะนำให้เปลี่ยนไส้กรอง หรือหม้อกรองทุก ๆครั้งที่ 2 ของการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง

ข้อที่ 16

(ผิด) ควรเติม หัวเชื้อน้ำมันเครื่องเพื่อถนอมเครื่องยนต์
(ถูก) อาจจะหนืดไป แค่ใช้น้ำมันเครื่องดี มีคุณภาพ ก็เพียงพอแล้ว

เราแบ่งหัวเชื้อน้ำมันเครื่องได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่ช่วยเพิ่มคุณภาพของน้ำมันเครื่อง และประเภทที่ช่วยเพิ่มความหนืดของน้ำมันเครื่องน้ำมันเครื่องคุณภาพสูงใน ปัจจุบันมีส่วนผสมของสารต่าง ๆ อยู่ในปริมาณและ ส่วนที่เหมาะสมจึงไม่ควรใส่สารอื่นเข้าไปทำลายส่วนสารเคมีเหล่านี้ให้เสีย สมดุลและกลับให้โทษแก่เครื่องยนต์ประเภทแรกจึงไม่จำเป็น ส่วนหัวเชื้อน้ำมันเครื่องที่ช่วยเพิ่มความหนืดอาจช่วยลดความสิ้นเปลือง น้ำมัน เครื่องของเครื่องยนต์ที่หมดสภาพแล้วได้บ้าง แต่เมื่อคำนึงถึงราคาแล้ว ก็ไม่น่าจะช่วยประหยัดได้ และเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุด้วย

วิธีที่ถูกต้องคือ การซ่อมใหญ่ หรือ โอเวอร์ฮอล เพื่อให้เครื่องยนต์กลับคืนสู่สภาพดีปกติ

ข้อที่ 17

(ผิด) เติมน้ำมันเครื่องคุณภาพสูงปนกับน้ำมันเครื่องทั่วไปจะได้คุณสมบัติที่ดีขึ้น
(ถูก) การผสมไม่ได้ช่วยให้คุณภาพดีขึ้นใช้น้ำมันเครื่องคุณภาพมาตรฐานจะดีกว่า

การ นำน้ำมันเครื่องคุณภาพสูงสุดสักครึ่งลิตรมาผสมกับน้ำมันเครื่องคุณภาพ ปานกลาง ก็ไม่สามารถเพิ่มคุณภาพขึ้นมาได้ เอาเงินส่วนนี้ไปทำประโยชน์ส่วนอื่นจะดีกว่าเช่นเดียวกับการเอาน้ำมัน เครื่องคุณภาพต่ำมาเติมผสมลงไปในน้ำมันเครื่องชั้น ดีราคาสูงซึ่งจะทำให้ส่วนผสมของสารเพิ่มคุณภาพในน้ำมันเครื่องเสียสมดุลไป เท่ากับน้ำมันเครื่องทั้งหมดคุณภาพต่ำไป
การเติมน้ำมันเครื่องใหม่เมื่อน้ำมันเครื่องเดิมใกล้จะถึงกำหนดเปลี่ยนถ่าย นั้น ก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรทำเพราะไม่คุ้มกับเงินที่จ่ายไปเพื่อแลกกับการใช้งาน เพียงระยะสั้นทางที่ดีเปลี่ยนใหม่ทั้งหมดเลยจะคุ้มกว่า

ข้อที่ 18

(ผิด) ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องใหม่ทุก ๆ 5,000 กม
(ถูก) ขึ้นอยู่กับคุณภาพน้ำมันเครื่องและความต้องการของเครื่องยนต์

ผู้ ผลิตรถยนต์แต่ละรายกำหนดมาตรฐานคุณภาพของน้ำมันเครื่องที่เครื่องยนต์แต่ละ รุ่นต้องการใช้ อยู่ในคู่มือประจำรถ และกำหนดระยะเวลาการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องไว้แตกต่างกันด้วยรถยนต์ของค่าย ญี่ปุ่น จะมีกำหนดเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง เช่น ทุก ๆ 5,000 กม. และ 10,000 กม.ส่วนรถค่ายยุโรปส่วนใหญ่ที่เครื่องยนต์ใหญ่ใช้รอบเครื่องยนต์ต่ำและ มาตรฐานคุณภาพของน้ำมันเครื่องไว้สูง เช่น ระดับ SJ สำหรับเครื่องยนต์เบนซินจะกำหนดระยะทางถึง 15,000 กม. หรือมากกว่านั้น
ปัจจุบันกำหนดเปลี่ยนน้ำมันเครื่องที่มีระยะมากที่สุด เป็นของรถเปอโยต์ คือ ทุก ๆ 30,000 กม. แต่อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนก่อนเวลาก็ไม่ได้ทำให้เสียหายเพียงแต่เปลืองเงินกว่าที่ควร เท่านั้นเอง

ถ้าใช้น้ำมันเครื่อง ธรรมดา คุณภาพสูง แล้วใช้งานหนักมาก เปลี่ยนทุก 5,000 กม. ถ้าใช้น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ 100% เปลี่ยนทุก 10,000 กม. หากใช้งานเบากว่านี้เพิ่มระยะทางได้ตามความเหมาะสม

ข้อที่ 19
(ผิด) ดีเซลมีระยะการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเท่ากับเบนซิน
(ถูก) อุณหภูมิภายในไม่เท่ากัน อายุการใช้งานก็ต่างกันด้วย

การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ดีเซล ก่อให้เกิดเขม่ามากกว่าในเครื่องยนต์เบนซินผงเขม่าขนาดเล็กสามารถลอด ผ่านกระดาษกรองของหม้อกรองน้ำมันเครื่องได้ เมื่อสะสมแขวนลอยอยู่ในน้ำมันเครื่องมากขึ้น จะทำให้น้ำมันเครื่องมีค่าความหนืดสูงขึ้นคุณสมบัติในการหล่อลื่นจึงลดลง เครื่องยนต์ดีเซลระบบฉีดตรงเข้าห้องเผาไหม้ หรือไดเรคท์อินเจคชันยุคใหม่มีเขม่าน้อยกว่าแบบพรีแชมเบอร์มากกำหนดเปลี่ยน น้ำมันเครื่องของเครื่องยนต์แบบนี้ใกล้เคียงกับเครื่องยนต์เบนซิน

ข้อที่ 20

(ผิด) น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ 100% คุ้มกว่าน้ำมันเครื่องธรรมดา
(ถูก) ราคาแพงกว่าใช้ได้นานกว่า แต่จะคุ้มหรือไม่อยู่ที่ใจ

จุดเด่นแรกของน้ำมันเครื่องสังเคราะห์อยู่ที่ค่าความหนืดต่ำที่อุณหภูมิ ต่ำจึงไหลไปหล่อลื่นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ได้อย่างรวดเร็ว ตั้งแต่เริ่มติดเครื่องยนต์ในสภาพเย็นจัดเช่น ต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียสซึ่งสภาวะเช่นนี้ไม่มีในประเทศไทย

ข้อดีประการที่ 2 คือทนต่อความร้อนสูงที่ผนังกระบอกสูบได้ดีกว่าจึงมีอัตราการระเหยเป็นไอได้ น้อยกว่าน้ำมันเครื่อง ธรรมดา อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเครื่องน้อย

จุดเด่นอีกข้อของน้ำมันเครื่อง สังเคราะห์ คือ การมีค่าดัชนีความหนืดสูงจึงไม่ใส เกินไปเมื่อถูกความร้อนจัดน้ำมันเครื่องสังเคราะห์จึงมีสารปรับดัชนีความ หนืดผสมอยู่ในอัตราที่น้อยกว่าน้ำมันเครื่องธรรมดา เนื่องจากสารปรับดัชนีความหนืดนี้เสื่อมสภาพได้ง่ายตามอายุใช้งานยาวนานกว่า น้ำมันเครื่องธรรมดามาก

เมื่อเปรียบเทียบราคาน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ 100% กับราคาน้ำมันเครื่องธรรมดา ระดับคุณภาพสูงสุดน้ำมันเครื่องสังเคราะห์จะมีราคาสูงกว่าราว 2 ถึง 4 เท่าจึงไม่สามารถกล่าวได้ว่า คุ้มกว่าน้ำมันเครื่องธรรมดา ยกเว้นพวกชอบใช้ของแพง ได้จ่ายเงินมากแล้วมีความสุขผู้ที่ต้องการถนอมให้เครื่องยนต์สึกหรอน้อยที่ สุด โดยไม่คำนึงถึงราคาว่าคุ้มหรือไม่ น้ำมันเครื่องมาตรฐานที่ผู้ผลิตกำหนดน่าจะเป็นน้ำมันเครื่องที่ใช้ได้คุ้ม ค่าและเพียงพอกับความต้องการแล้ว

ข้อที่ 21
(ผิด) ใช้น้ำมันเครื่องราคาถูกแต่เปลี่ยนบ่อย ๆ ช่วยถนอมเครื่องยนต์
(ถูก) ถ้าเจอน้ำมันเครื่องปลอม ไม่มีคุณภาพ อาจทำให้เครื่องยนต์เสียหาย

ไม่ควรนำน้ำมันเครื่องราคาถูกมาเปลี่ยนบ่อย ๆ เช่น ทุก 3,000 หรือ 4,000 กม.แทนน้ำมันเครื่องมาตรฐานที่ผู้ผลิตกำหนด เพราะในประเทศเราที่ไม่มีหน่วยงานควบคุมและตรวจสอบคุณภาพของน้ำมันเครื่อง อยู่เลย

แม้น้ำมันเครื่องระดับคุณภาพสูงที่เราซื้อมาก็อาจเป็นของปลอมที่กรองและฟอกสีมาจากกากน้ำมันเครื่องใช้แล้วก็ได้

วิธีถนอมเครื่องยนต์ที่ดีที่สุด คือ เลือกใช้น้ำมันเครื่องคุณภาพสูงสุดก่อนอื่นต้องเลือก ยี่ห้อ และสถานที่จำหน่าย ที่น่าไว้วางใจได้ เลือกระดับคุณภาพ แล้วจึงดูระดับความหนืด หรือความข้นของน้ำมันเครื่องที่เหมาะสมกับอุณหภูมิเฉลี่ยของเมืองไทย เช่น 10W-40/15W-40/15W-50 หรือ 20W-50 ระดับคุณภาพที่รู้จักกันแพร่หลายใ นประเทศไทย คือ ระดับคุณภาพตามมาตรฐานของ API (American Petroleum Institute)ถ้าเป็นรถใช้เครื่องยนต์เบนซินควรใช้น้ำมันเครื่องระดับคุณภาพ SJ หรือ อย่างน้อย SH ถ้าเป็นรถใช้เครื่องยนต์ดีเซล ควรเลือกระดับ CG-4 หรืออย่างน้อย CF-4

ข้อที่ 22
(ผิด) แบตเตอรี่ลูกใหญ่ สตาร์ทติดง่าย
(ถูก) แบตเตอรี่ขนาดไหนก็ใช้ไฟเท่าเดิม

การใช้แบตเตอรี่ที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิม ขณะที่องค์ประกอบอื่น ๆทั้งเครื่องยนต์ไดสตาร์ท และไดชาร์จยังมีขนาดเท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากจะเป็นความสิ้นเปลืองที่เกินกว่าความจำเป็น เพราะความต้องการไฟ

ในการสตาร์ทเครื่องยนต์ยังเท่าเดิมแล้วยังอาจส่งผลเสียกับไดชาร์จในอนาคต

แบตเตอรี่ที่มีขนาดใหญ่มากเกินไปไม่เพียงต้องทำให้เจ้าของรถต้องดัดแปลง แท่นวางแบตเตอรี่ใหม่เท่านั้น ยังอาจส่งผลให้ไดชาร์จทำงานเต็มกำลังตลอดเวลาเพื่อบรรจุไฟเข้าไปเก็บใน แบตเตอรี่ ซึ่งจะหยุดก็ต่อเมื่อ

ไฟเต็มแบตเตอรี่ในปัจจุบันแม้มีขนาดที่เล็กแต่ก็ใช้งานได้ดีไม่แพ้แบตเตอรี่ลูกใหญ่

ข้อที่ 23
(ผิด) ปิดพัดลมแอร์ก่อนดับเครื่องยนต์ จะใช้ให้แอร์ไม่เสียเร็ว
(ถูก) ควรปิดคอมเพรสเซอร์แอร์ ก่อนดับเครื่อง ช่วยยืดอายุตู้แอร์

ระบบทำความเย็นทั้งภายในรถและอาคาร อาศัยหลักการถ่ายเทความเย็นและระบายความร้อน ซึ่งตู้แอร์ หรือคอยล์เย็น จะมีสารทำความเย็นบรรจุอยู่ภายในโดยมีพัดลมทำหน้าที่เป่าลมการปิดพัดลมก่อน ดับเครื่องความเย็นยังคงอยู่ภายในระบบ ตู้แอร์จึงชื้นและกลายเป็นที่สะสมฝุ่นละออง ซึ่งจะทำให้ลมผ่านได้ไม่สะดวก เกิดการอุดตัว และตู้รั่ว การเปิดคอมเพรสเซอร์ หรือปิดสวิทช์ AC ก่อนดับเครื่องยนต์อย่างน้อย5-10 นาที จะช่วยไล่ความชื้นในตู้แอร์ ไม่เป็นที่สะสมฝุ่น นอกจากจะช่วยยืดอายุตู้แอร์ยังช่วยลดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ ที่มักเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับความชื้นอีกด้วย

ข้อที่ 24

(ผิด) แก็สโซฮอล์สิ้นเปลืองกว่าเบนซิน 95 เพราะระเหยได้ง่ายกว่า
(ถูก) แอลกอฮอลล์มีควาามหนาแน่นของพลังงานต่ำกว่าของเบนซิน

การที่แก็สโซฮอล์สิ้นเปลืองกว่าเพราะแอลกอฮอล์มีพลังงานสะสมในตัวมันน้อย กว่าเมื่อเทียบมวลเท่ากัน เช่น มีพลังงานกี่กิโลแคลอรี่ต่อมวลหนึ่งกิโลกรัมเท่ากันหรือกล่าวได้ว่า แอลกอฮอล์มีความหนาแน่นของพลังงานหรือค่าความร้อน (Heating Value) ต่ำกว่าของเบนซินเกี่ยวกับการระเหยง่ายอย่างที่หลายคนคิด ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือ น้ำมันเบนซินซึ่งระเหยง่ายมากและน้ำมันดีเซลซึ่งระเหยยากมาก แต่มีความหนาแน่นของพลังงานหรือค่าความร้อนพอ ๆ กันและมากกว่าของแอลกอฮอล์ประมาณเท่าตัว

ข้อที่ 25
(ผิด) ไส้กรองอากาศไม่ต้องเปลี่ยน แค่เป่าลมก็ใช้ได้
(ถูก) เปลี่ยนใหม่ดีกว่า ช่วยประหยัดค่าน้ำมันอีกด้วย

การใช้ลมเป่าไส้กรองอากาศที่นิยมทำกัน เมื่อมีฝุ่นติดเต็มจนมองไม่เห็นสีเดิม วิธีนี้ช่วยให้ฝุ่นละอองเบาบางลง อากาศไหลผ่านได้ดียิ่งขึ้นแต่ถ้าเป่าแรงเกินไปแผ่นกรองอาจเสียหายจนใช้งาน ต่อไม่ได้ เพราะมีรูกว้างจนฝุ่นขนาดใหญ่สามารถผ่านเข้าไปได้ คิดแล้วไม่คุ้ม ยอมจ่ายเงินซื้อของใหม่มาใส่จะคุ้มกว่าการล้างคาร์บูเรเตอร์หรือหัวฉีด แถมยังประหยัดค่าน้ำมันทางอ้อมอีกด้วย

ข้อที่ 26

(ผิด) เปลี่ยนกรองเปลือย และหัวเทียน ทำให้รถแรงขึ้น
(ถูก) ช่วยอะไรไม่ได้มาก ไม่คุ้มกับเงินที่จ่ายไป

การเปลี่ยนกรองอากาศมาเป็นแบบกรองเปลือยที่ไม่มีกล่องป้องกันฝุ่นและท่อ นำอากาศอาจจะช่วยให้อากาศเข้าได้สะดวกขึ้น แต่ความหนาแน่นของมวลอากาศน้อยลงเพราะอุณหภูมิความร้อนภายในห้องเครื่องยนต์ ซึ่งปริมาณอากาศกับห้องเผาไหม้เท่าเดิม จึงให้กำลังตกลงเมื่อเครื่องร้อนอีกทั้งมีฝุ่นละอองมาก ทำให้ต้องล้างหรือทำความสะอาดบ่อย ๆ การใช้หัวเทียนใหม่ช่วยให้การจุดระเบิดสมบูรณ์ แต่ไม่ได้เพิ่มกำลังเครื่องยนต์ให้สูงกว่ามาตรฐานผู้ผลิตรถยนต์ได้กำหนดไว้

ข้อที่ 27

(ผิด) รถที่ใช้จานเบรค 4 ล้อปลอดภัยกว่ารถที่ใช้ดุมเบรคหลัง
(ถูก) ไม่แน่ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการใช้งาน

หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าจานเบรคใช้ได้ดีกับรถทุกรุ่นทุกขนาดแม้ว่า คุณสมบัติที่ดีของจานเบรคคือ ระบายความร้อนได้เร็วส่วนใหญ่ผู้ผลิตรถจึงใช้กับล้อหน้าที่ผ้าเบรคจับตัวจาน เบรคแทบจะตลอดเวลา ดุมเบรคที่

ระบายความร้อนได้ช้ากว่าเพราะมีฝาครอบแต่มีพื้นที่สัมผัสมากกว่าจานเบรค และไม่มีปัญหาเบรคล็อคเหมือนจานเบรคใช้ในล้อหลัง รถที่ใช้งานแบบทั่วไปรวมทั้งรถที่มีระบบเอบีเอสซึ่งวิศวกรผู้ผลิตรถยนต์จะ เลือกใช้จานเบรคตามความเหมาะสม การที่เจ้าของรถนำรถไปดัดแปลงใช้จานเบรคในล้อหลัง ต้องระวังเพราะหากล้อหลังหยุดก่อนล้อหน้าอาจทำให้รถหมุนได้

ข้อที่ 28
(ผิด) เติมน้ำยาหล่อเย็นจะทำให้หม้อน้ำรั่ว
(ถูก) น้ำยาเติมหม้อน้ำช่วยลดตะกอนและควบคุมอุณหภูมิ

น้ำยาเติมหม้อ หรือน้ำยาหล่อเย็น (Coolant) ถูกมองว่าเป็นตัวการทำให้หม้อน้ำและปั๊มน้ำรั่วอยู่เสมอนั่นก็เพราะผู้ใช้รถ จะพบปัญหาเหล่านี้หลังจากที่ได้เติมน้ำยาหล่อเย็นซึ่งในความเป็นจริงเกิดจาก ระบบหล่อเย็นของรถขาดการบำรุงรักษามาเป็นเวลานาน หรือใช้น้ำที่มีค่าเป็นกรดเป็นด่างมากเกินไป จนเกิดการผุกร่อน
ดังนั้นเราควรบำรุงรักษาหม้อน้ำด้วยการเปลี่ยนถ่ายน้ำยาในระบบหล่อเย็นปีละ ครั้ง รวมทั้งทำความสะอาดถังพักน้ำด้วย ส่วนการผสมน้ำยาหล่อเย็น ควรทำตามอัตราส่วนที่ผู้ผลิตระบไว้

ข้อที่ 29
(ผิด) วางเท้าไว้บนแป้นคลัทช์ เพื่อใช้งานได้ทันทีที่ต้องการ
(ถูก) ยกเท้าออกจากคลัทช์ จะได้ไม่เปลืองผ้าคลัทช์

เรื่องนี้น่าจะเป็นความเคยของแต่ละบุคคล ไม่ใช่พฤติกรรมที่น่าเลียนแบบโดยปกตรถเกียร์ธรรมดา จะต้องคอยระวังเครื่องดับ เมื่อเหยียบเบรคแรง หรือหยุดรถหลายคนตึงไม่ยอมยกเท้าจากแป้นคลัทช์ทั้ง ๆ ที่เข้าเกียร์สุดท้ายไปนานแล้ว

การวางเท้าไว้บนแป้นคลัทช์ตลอดเวลาบางครั้งอาจจะเผลอทิ้งน้ำหนักลงไปที่ เท้าจนคลัทช์ทำงาน ส่งผลกระทบโดยตรงกับผ้าคลัทช์ และหวีคลัทช์ จนถึงไฟร์วีล ทำให้สึกหรอมากกว่าที่ควรจะเป็นเรื่องเหล่านี้ เป็นเพียงบางส่วนที่ผู้ใช้รถกระทำด้วยความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องซึ่งถ้าสามารถ แก้ไขได้ ก็จะช่วยประหยัดความสิ้นเปลือง และค่าใช้จ่ายได้มาก





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow