INSURANCETHAI.NET
Fri 19/04/2024 3:00:12
Home » ความรู้รถยนต์ » รหัสรถยนต์ประเภทต่างๆ\"you

รหัสรถยนต์ประเภทต่างๆ

2013/06/01 5231👁️‍🗨️

รถยนต์ส่วนบุคคล 110
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 120
รถนั่งโดยสารส่วนบุคคล 210
รถนั่งโดยสารเพื่อการพาณิชย์ (โดยสารไม่เกิน 20 ที่นั่ง) 220
รถบรรทุกเพื่อการพาณิชย์ (ไม่เกิน 4 ตัน) 320

car-code-types

รหัสรถยนต์ ในกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์คืออะไร ?
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ทุกประเภท เช่น ประกันภัยรถยนต์ชั้น1 ประกันภัยรถยนต์2+ ประกันภัยรถยนต์3+ หรือประกันภัยรถยนต์อื่นๆ
จะให้ความคุ้มครองตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ในการใช้ในกรมธรรม์แต่ละประเภทก็ย่อมแตกต่างกันตามชนิดของกรมธรรม์และประเภทของประเภทรถยนต์
หากมีการนำรถยนต์ที่ทำประกันภัยไปใช้งานผิดวัตถุประสงค์ไม่ตรงตามที่กรมธรรม์ระบุไว้ ย่อมเกิดผลเสียและจะมีผลทำให้บริษัทประกันภัยสามารถปฏิเสธความรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ทันที และผู้ซื้อประกันภัยรถยนต์จะต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นเมื่อทำประกันภัยใดๆต้องตรวจดูเอกสารกรมธรรม์ให้ถูกต้องและต้องตรวจสอบว่ารหัสรถยนต์ที่ระบุในเอกสารกรมธรรม์ของท่านถูกต้องตามประเภทของรถยนต์ ดังนี้

1. รถเก๋ง / รถกระบะ 4 ประตู (รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 ที่นั่ง)
รหัส 110 คือรถยนต์ใช้ส่วนบุคคลไม่ใช้รับจ้างหรือให้เช่า
รหัส 120 คือรถยนต์ใช้เพื่อการพาณิชย์ หรือ จดทะเบียนบุคคลเพื่อการใช้งานรับจ้าง หรือ ให้เช่า

2. รถกระบะบรรทุก(รถยนต์บรรทุกไม่เกิน 3 ตัน)
รหัส 210 คือรถยนต์ใช้ส่วนบุคคล ไม่มีโครงเหล็ก/โครงหลังคา
รหัส 320 คือรถยนต์บรรทุกใช้เพื่อการพาณิชย์ รับจ้างหรือให้เช่า (ใช้งานบรรทุก / ใช้โดยสาร) รหัส 340 คือรถยนต์บรรทุกใช้เพื่อการพาณิชย์ ใช้บรรทุกวัตถุอันตราย

3. รถตู้โดยสาร(รถยนต์โดยสารส่วนบุคคล)
รหัส 210 คือรถยนต์โดยสารใช้ส่วนบุคคล ไม่สามารถนำมาใช้รับจ้างหรือให้เช่า หรือใช้เป็นรถประจำตำแหน่ง
รหัส 220 คือรถยนต์โดยสารเชิงพาณิชย์ ใช้เพื่อรับจ้างรับส่งคน เช่น พนักงาน นักเรียน

4. รถตู้โดยสาร(รถยนต์โดยสารรับจ้าง)
รหัส 220 คือรถยนต์โดยสารใช้รับจ้างรับส่งคน เช่น พนักงานบริษัท นักเรียน
รหัส 230 คือรถยนต์โดยสาร ใช้รับจ้างประจำทางและรับจ้างสาธารณะ

รายละเอียดเพิ่มเติม
การทำประกันจะต้องทำประกันให้ตรงกับการใช้งานจริง ไม่ได้อ้างอิงการจดทะเบียนรถ
เพราะรถบางคันจดทะเบียนส่วนบุคคลแต่ว่าใช้งานรับจ้างหรือให้เช่า เช่น รถตู้ที่ใช้รับจ้างรับส่งนักเรียน พนักงานบริษัท หรือ รถเก๋งแท๊กซี่ป้ายดำต่างๆ ซึ่งถ้าทำประกันส่วนบุคคลแล้วใช้งานรับจ้างก็จะเป็นการทำประกันผิดประเภทการใช้งาน บริษัทปฏิเสธความรับผิดชอบได้ แต่ถ้าทำประกันแบบรับจ้างแล้วเอามาใช้งานส่วนบุคคล ถือว่าไม่ผิดประเภท เพราะถ้าซื้อประกันรหัสที่แพงกว่าถือว่าครอบคลุมอยู่แล้วครับ

รถยนต์บรรทุก 6 ล้อ หรือ 10 ล้อก็เหมือนกัน ที่ทำประกันแบบบรรทุกรหัส 320
ถ้าใช้ลากจูงด้วยจะต้องทำประกันแบบลากจูงเป็นรหัส 420 เพราะถ้าทำรหัส 320 แล้วนำไปลากจูงจะเป็นการทำประกันผิดประเภท แต่ถ้าทำประกัน 420 หากถอดตัวพ่วงออกแล้วนำมาใช้บรรทุกก็คือว่าครอบคลุมแล้วเพราะราคาประกันรหัส 420 จะแพงกว่ารหัส 320

รหัสรถยนต์ภาคสมัครใจ และลักษณะการใช้รถ
1. รถเก๋ง รกระบะ 4 ประตูไม่ต่อสองแถว ป้ายสีขาวตัวอักษรสีดำ (รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 ที่นั่ง)
รหัส 110 คือรถยนต์ใช้ส่วนบุคคลไม่ใช้รับจ้างหรือให้เช่า
รหัส 120 คือรถยนต์ใช้เพื่อการพาณิชย์ หรือ รถจดทะเบียนบุคคลแต่ใช้งานรับจ้าง(ไม่ประจำทาง) หรือ รถยนต์ให้เช่า
2. รถกระบะแคปและไม่แคป ป้ายสีขาวตัวอักษรสีเขียว (รถยนต์บรรทุกไม่เกิน 3 ตัน)
รหัส 210 คือรถยนต์ใช้ส่วนบุคคล ไม่กั้นโครงเหล็ก ไม่ติดหลังคา บางบริษัทใช้รหัส 320 (เน้นการใช้งานโดยสาร)
รหัส 320 คือรถยนต์บรรทุกใช้เพื่อการพาณิชย์ รับจ้างหรือให้เช่า (เน้นใช้งานบรรทุก)
รหัส 340 คือรถยนต์บรรทุกใช้เพื่อการพาณิชย์ ใช้บรรทุกวัตถุอันตราย เช่น ก๊าช น้ำมัน วัตถุไวไฟ
3. รถตู้โดยสาร ป้ายสีขาวตัวอักษรสีฟ้า (รถยนต์โดยสารส่วนบุคคล)
รหัส 210 คือรถยนต์โดยสารใช้ส่วนบุคคล ไม่ใช้รับจ้างหรือให้เช่า ชื่อบุคคลหรือชื่อบริษัทแต่ใช้ประจำตำแหน่ง
รหัส 220 คือรถยนต์โดยสารพาณิชย์ใช้รับจ้างรับส่งพนักงานบริษัท นักเรียน วิ่งทัวร์ต่างๆ หรือชื่อบริษัทไม่ใช้ประจำตำแหน่ง
4. รถตู้โดยสาร ป้ายสีเหลือง ตัวอักษรเป็นตัวเลขทั้งหมด ตัวเลขสีดำ (รถยนต์โดยสารรับจ้าง)
รหัส 220 คือรถยนต์โดยสารใช้รับจ้างรับส่งพนักงานบริษัท นักเรียน วิ่งทัวร์ต่างๆ
รหัส 230 คือรถยนต์โดยสาร ใช้รับจ้างประจำทาง รับจ้างสาธารณะ





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow