INSURANCETHAI.NET
Wed 24/04/2024 13:48:27
Home » ประกันอัคคีภัย » การประกันอัคคีภัย\"you

การประกันอัคคีภัย

2015/03/10 2364👁️‍🗨️

การประกันอัคคีภัยคืออะไร

การประกันอัคคีภัยเป็นการประกันภัยที่คุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากไฟไหม้หรือภัยเพิ่มเติมอื่นๆ ต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้เช่น ภัยน้ําท่วม ภัยลมพายุ ภัยระเบิด เป็นต้น ซึ่งการประกันอัคคีภัยนี้ สามารถใช้ได้กับทรัพย์สินที่มี การใช้งานในทุกๆ ลักษณะ ไม่ว่าจะเป็น
อาคาร
สํานักงาน
โรงแรม
ห้าง
สรรพสินค้า
ร้านค้า
ฯลฯ
ยกเว้นแต่เพียงกรณีที่เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งจะมี กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสําหรับที่อยู่อาศัยแยกออกไปต่างหาก

ความคุ้มครองพื้นฐานตามกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย

การประกันอัคคีภัยให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อทรัพย์สินจากภัยพื้นฐานต่างๆ ดังนี้
1. ไฟไหม้
2. ฟ้าผ่า
3. แรงระเบิดของแก๊สที่ใช้สําหรับทําแสงสว่างหรือประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัยเท่านั้นแต่ไม่รวมถึงความเสียหายจากการระเบิดของแก๊ส
จากแผ่นดินไหว
4. ความเสียหายเนื่องจากภัยเพิ่มเติมที่ได้ระบุไว้ชัดเจนในกรมธรรม์ประกันภัย

fire-insurance-2

การขยายความคุ้มครองสําหรับภัยเพิ่มเติม

นอกเหนือจากภัยพื้นฐานที่ได้รับความคุ้มครองภายใต้กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยแล้ว
ผู้เอาประกันภัยสามารถเลือกซื้อภัยเพิ่มเติมอื่นๆได้ตามความเสี่ยงภัยที่มีอยู่ ได้แก่
ภัยลมพายุ
ภัยจากลูกเห็บ
ภัยระเบิด
ภัยอากาศยาน
ภัยจากยวดยานพาหนะ
ภัยจากควัน
ภัยแผ่นดินไหว
ภัยน้ําท่วม
ภัยเนื่องจากน้ํา
ภัยจลาจลและนัดหยุดงาน
ภัยจากการกระทําอย่างป่าเถื่อนหรือ การกระทําอันมีเจตนาร้าย
ภัยเกิดขึ้นเองตามปกติวิสัย
มีการลุกไหม้หรือ การระเบิด
ภัยเกิดขึ้นเองตามปกติวิสัย และ/หรือไม่มีการลุกไหม้ หรือการ ระเบิด
ภัยต่อเครื่องไฟฟ้า

โดยจ่ายเบี้ยประกันภัยเพิ่มไม่มากนัก

ความคุ้มครองความเสียหายที่สืบเนื่องจากไฟไหม้

ความเสียหายที่สืบเนื่องจากไฟ หมายความถึง ความเสียหายอันเป็น ผลมาจากไฟไหม้ แม้ว่าความเสียหายบางประเภทจะไม่ได้เกิดขึ้นโดยตรง
จากไฟไหม้ก็ตาม จะได้รับความคุ้มครองภายใต้กรมธรรม์ประกันอัคคีภัย ได้แก่
1. ความเสียหายที่เกิดจากน้ําที่ใช้ดับไฟ หรือสารดับเพลิงอื่นๆ ที่ใช้ดับไฟ เช่น
ทรัพย์สินที่อยู่ใกล้เคียงต้องถูกฉีดน้ําทําให้เปียกและเสียหาย เป็นต้น
2. ความเสียหายอันเกิดจากเจ้าหน้าที่ดับเพลิง เช่น
เจ้าหน้าที่ต้องทุบกระจกเพื่อกรุยทางเข้าไปดับเพลิง หรือเจ้าหน้าที่ดับเพลิงขึ้นไปยืนบนดาดฟ้าของอาคารที่ยังไม่ถูกไฟไหม้ เพื่อฉีดน้ําเข้าไปในอาคารที่ถูกไฟไหม้ทําให้กระเบื้องแตก
เป็นต้น
3. ความเสียหายที่ถูกระเบิดเพื่อป้องกันมิให้ไฟขยายตัวต่อไป
4. ความเสียหายจากควัน หรือการถูกลนจนเกรียมด้วยความร้อนจากไฟ
5. ความเสียหายที่เกิดจากสิ่งที่พังของกําแพง หรือการหล่นลงมาของชิ้นส่วนอาคารที่ถูกไฟไหม้ เช่น
ไฟไหม้กําแพงข้างอาคารแล้วหล่นลงมาทับ เอาทรัพย์สินที่เอาประกันภัยเสียหายเป็นต้น
6. ทรัพย์สินที่สูญหายขณะเกิดไฟไหม้หรือหลังจากเกิดไฟไหม้

การกําหนดจํานวนเงินเอาประกันภัย

จํานวนเงินเอาประกันภัยของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยนั้นในการทําประกันภัยผู้เอาประกันภัยควรแจ้งจํานวนเงินที่จะเอาประกันภัยให้ถูกต้องตามมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน
ณ เวลาที่ทําประกันภัย ไม่ควรสูงกว่า (Over Insured) หรือ ต่ํากว่า (Under Insured) มูลค่าที่แท้จริงในขณะนั้น เนื่องจากจะทําให้ผู้เอาประกันภัยเสียประโยชน์
กล่าวคือ การที่ทําประกันภัย ไว้ด้วยจํานวนเงินเอาประกันภัยที่สูงกว่ามูลค่าที่แท้จริงนั้น เมื่อเกิดไฟไหม้อาคารทั้งหลัง บริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้สูงสุดไม่เกิน
มูลค่าที่แท้จริงเท่านั้น จึงเท่ากับว่าผู้เอาประกันภัย ได้จ่ายเบี้ย ประกันภัยมากเกินกว่าที่ควรจะจ่าย ในกรณีที่ กําหนดจํานวนเงินเอาประกันภัยไว้ต่ํากว่ามูลค่า
ที่แท้จริงนั้น หากเกิดความเสียหาย ขึ้นจะทําให้ผู้เอาประกันภัยได้รับค่าสินไหมทดแทน ไม่เต็มจํานวนและเป็นภาระแก่ผู้เอาประกันภัยที่จะต้องชดเชยความเสียหายส่วนที่เหลือเอง

การทําประกันภัยระยะยาว

โดยทั่วไปการทําประกันอัคคีภัยจะมีการทําประกันภัยเป็นแบบปีต่อปีแต่การทําประกันอัคคีภัยได้มีการกําหนดให้ผู้เอาประกันภัยสามารถทําประกันภัยระยะยาว2
ปี หรือ3ปีได้ ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะได้รับส่วนลดเบี้ยประกันภัยสําหรับการทําประกันภัยระยะยาวด้วย ดังนี้
หากทําประกันภัยระยะยาว 2 ปี บริษัทจะคิดเบี้ยประกันภัยเท่ากับ 175% ของเบี้ยประกันภัย 1ปี
หากทําประกันภัยระยะยาว 3 ปี บริษัทจะคิดเบี้ยประกันภัยเท่ากับ 250% ของเบี้ยประกันภัย 1ปี
ซึ่งจะทําให้เสียเบี้ยประกันภัยน้อยกว่าการทําประกันภัยแบบปีต่อปี

อัตราเบี้ยประกันภัย

อัตราเบี้ยประกันอัคคีภัยได้มีการกําหนดไว้ให้บริษัทประกันภัยปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกันโดยกําหนดแตกต่างกันตามลักษณะการใช้สถานที่
ชั้นของสิ่งปลูกสร้าง(กําหนดตามวัสดุที่ใช้สําหรับโครงสร้างผนังและพื้นของอาคาร)
และสถานที่ตั้งนอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ใช้ในการพิจารณาอัตราเบี้ยประกันภัยนั่นคือ
หากอาคารไม่ใช่ภัยโดดเดี่ยวจะต้องคิดอัตราเบี้ยประกันภัยสูงขึ้น และหากมีการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง เช่น
เครื่องดับเพลิงมือถือ
เครื่องสัญญาณแจ้งเพลิงไหม้
เครื่องพรมน้ําดับเพลิงแบบอัตโนมัติ เป็นต้น
จะได้รับการพิจารณาให้ส่วนลดเพิ่มเติมด้วย

ตัวอย่างการคํานวณเบี้ยประกันภัย

สํานักงานแห่งหนึ่งอยู่ในอาคารพาณิชย์ซึ่งสร้างทําด้วยคอนกรีตจํานวนเงินเอาประกันภัย 1,000,000 บาท ต้องการทําประกันอัคคีภัยเบี้ยประกันภัยเป็นเท่าใด

อาคารดังกล่าวถือเป็นสิ่งปลูกสร้างชั้น 1 อัตราเบี้ยประกันภัย 0.1% บวกด้วยอัตรา เบี้ยประกันภัยเพิ่ม(ภัยไม่โดดเดี่ยวเนื่องจาก อาคารดังกล่าวอยู่ติดกับสิ่งสร้างข้างเคียง)
0.02% รวมแล้วเท่ากับ 0.12% ดังนั้น
เบี้ยประกันภัยสําหรับระยะเวลาเอาประกันภัย 1 ปี เท่ากับ 1,000,000×0.12%=1,200 บาท
หากต่ออายุการประกันภัยแบบปีต่อปีเป็นระยะเวลา3ปีจะเสียเบี้ยประกันภัยเท่ากับ 3,600บาท
แต่หากทําประกันภัยครั้งเดียวเป็นระยะเวลา3ปี เบี้ยประกันภัย เท่ากับ 1,200 x 250% = 3,000 บาท
จะประหยัดกว่าการทําประกันภัยแบบปีต่อปีเป็นเงิน 600บาท

ขั้นตอนในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน

เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นผู้เอาประกันภัยจะต้องมีหน้าที่ดังนี้
1. ต้องแจ้งให้บริษัททราบทันทีและต้องส่งหลักฐานและเอกสารภายใน30วันนับตั้งแต่วันที่เกิดความเสียหาย
โดยคําเรียกร้องต้องทําเป็นหนังสือแจ้งรายละเอียดของทรัพย์สินที่เสียหายและจํานวนเงินค่าเสียหายของทรัพย์สินนั้นโดยละเอียดเท่าที่จะทําได้ตามราคาในเวลาที่เกิดการสูญเสีย
หรือเสียหายและรายการประกันภัยอื่นๆถ้ามี
2. ต้องแสดงหรือจัดหาพยานหลักฐานต่างๆข้อพิสูจน์และข้อความเกี่ยวกับการเรียกร้องและต้นเพลิงหรือสาเหตุที่ทําให้เกิดอัคคีภัยโดยค่าใช้จ่ายของตนเอง
3. ต้องรักษาทรัพย์สินที่เอาประกันภัยถึงแม้หลังเกิดความเสียหายแล้วซากทรัพย์นั้นจะไม่มีมูลค่าเลยก็ตามผู้เอาประกันภัยก็ต้องรักษาซากทรัพย์นั้นไว้เพื่อเป็นหลักฐานแห่งความเสียหาย






คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow