INSURANCETHAI.NET
Wed 24/04/2024 17:32:00
Home » อัพเดทประกันภัย » การผิดเงื่อนไข ประกันภัย และ อนุญาโตตุลาการ\"you

การผิดเงื่อนไข ประกันภัย และ อนุญาโตตุลาการ

2018/02/19 955👁️‍🗨️
บริษัทประกันภัย ต้องรับผิดชอบตามสัญญาประกันภัย และ หากผู้เสียหาย ไม่พอใจในค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นสามารถดำเนินการต่อเองได้

ปัญหาของ ผู้เประสบภัย (เกี่ยวข้องกับผู้เอาประกันภัยด้วย) เมื่อเกิด อุบัติเหตุ ได้รับความเสียหายขึ้น และการเกิดเหตุนั้นฝ่ายคู่กรณีมีกรมธรรม์ ประกันภัย ดูแลรับผิดชอบอยู่ ซึ่งทาง บริษัทประกันภัย กับ ผู้เสียหาย จะมีต้องการตกลงค่าใช้จ่าย เพื่อชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น

ความเสียหายที่เกิดขึ้น และต้องตกลงค่าใช้จ่ายกัน โดยมี เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการ

ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องดำเนินการตรวจสอบ และสืบสวน สอบสวน ในข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และกำหนดให้ฝ่ายผิด ซึ่งเป็น บริษัทประกันภัย รับผิดชอบตามสัญญาประกันภัย (ไม่ผิดเงื่อนไขในสัญญาประกันภัย ) จนกระทั่ง ตกลงค่าใช้จ่ายที่ต้องชดใช้กันได้แล้ว หรือไม่พอใจในค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ซึ่ง ผู้เสียหาย สามารถดำเนินการได้อย่างใดอย่างหนึ่ง

กรณีไม่รับเงื่อนไข ของ บริษัทประกันภัย

ผู้เสียหายสามารถดำเนินการฟ้องร้องต่อศาล เพื่อให้ ผู้เอาประกันภัย ดำเนินการชดใช้ตามที่ตัวเองเรียกร้อง
– ผู้เอาประกันภัย ควรปรึกษา บริษัทประกันภัย โดยสำเนาหมายศาลและคำฟ้องไว้ชุดหนึ่ง
ส่งไห้ทาง บริษัทประกันภัย ที่รับ ประกันภัยไว้ เพื่อทราบและมีการแต่งตั้งทนายเข้ามาในคดี
ซึ่งหากศาลมีคำสั่งพิพากษาออกมาอย่างไร ผู้ที่รับผิดชอบความเสียหายจะเป็นผู้จ่ายค่าเสียหายที่เกิดขึ้น

กรณีนี้ ผู้เอาประกันภัย สามารถนำเรื่องนี้ไปร้องเรียนที่สำนักงาน คปภ. เพื่อให้ทางสำนักงาน คปภ.ทำการเรียกให้ บริษัทประกันภัย เข้าชี้แจงถึงเหตุผล โดย คปภ.จะทำการวินิจฉัยว่าให้ บริษัทประกันภัย จะต้องดำเนินการอย่างไร
ซึ่งหากทางสำนักงาน คปภ.พิจารณาจากเรื่องร้องเรียนแล้ว กำหนดให้ บริษัทประกันภัย ต้องจ่าย ก็ไม่มีเหตุผลใดที่จะปฏิเสธได้เลย

การร้องเรียนข้อพิพาทที่เกิดขึ้นโดยตรง ผู้เอาประกันภัย vs บริษัทประกันภัย

ยื่นให้ อนุญาโตตุลาการ ซึ่งจะมีหน้าที่ชี้ขาดในข้อพิพาทที่เกิดขึ้น บริษัทประกันภัย vs ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากสัญญาประกันภัย โดยมีการกำหนดเอาไว้ในกรมธรรม์ ประกันภัย ว่า ผู้เอาประกันภัย กับ บริษัทประกันภัย ต่างให้สัญญาต่อกันว่าหากเกิดข้อพิพากเกิดขึ้น ทั้งสองฝ่ายยินยอมให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาด และต้องรับในคำชี้ขาดของ อนุญาโตตุลาการ นั้น ทั้งนี้ตามระเบียบ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2551 กำหนดให้มีคณะกรรมการอนุญาโตตุลาการ และสำนักงานอนุญาโตตุลาการ ซึ่งจะตั้งอยู่ในสำนักงาน คปภ. โดยจะมีการขึ้นทะเบียนรายชื่อบุคคลที่เป็นอนุญาโตตุลาการเอาไว้จำนวนหนึ่ง โดยจะเป็นอดีตผู้พิพากษาเป็นส่วนใหญ่

เครดิต: เส้นทางนักขาย ฉบับที่ 360 ปักษ์หลัง / ก้าวทันประกันภัย





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow