INSURANCETHAI.NET
Fri 11/10/2024 20:54:14
Home » อัพเดทประกันภัย » การเรียกสินไหมค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถระหว่างซ่อม\"you

การเรียกสินไหมค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถระหว่างซ่อม

2017/04/17 4589👁️‍🗨️

การเรียกสินไหมค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถระหว่างซ่อม

หากรถยนต์ถูกรถคันอื่นชน รถของคุณต้องเข้าซ่อมใช้เวลานานนับสัปดาห์ นับเดือน ระหว่างนั้นคุณไม่มีรถใช้ ต้องใช้บริการรถโดยสารประจำทาง รถแท็กซี่ หรือรถสาธารณะต่างๆ คุณสามารถเรียกค่าสินไหม หรือค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถระหว่างซ่อมได้ ซึ่งก็คือรายจ่าย ที่เราต้องจ่ายโดยไม่ใช่ความผิดของเรานั่นเอง

ส่วนกรณีที่คุณใช้รถทำมาหากิน เช่นใช้รถขายผลไม้ หรือต้องใช้รถติดต่อกับลูกค้า ฯลฯ รถส่งของ ใช้ค้าขาย คุณก็สามารถเรียกสินไหมนี้ได้เช่นกัน จากประกันของคู่กรณี โดยปกติแล้ว บริษัทประกันภัยจะไม่ค่อยเปิดเผยสิทธิ์เรียกร้องสินไหมตรงนี้ให้ทราบเพราะไม่มีบริษัท ไหนที่อยากจะจ่าย

โทรไปสอบถามกับ call center

กรณีที่เรียกค่าสินไหมได้ คือ คุณต้องเป็นฝ่ายถูกเท่านั้น คุณสามารถทำเรื่องเรียกร้องค่าสินไหม กับประกันคู่กรณีได้

เอกสารหลักฐานสำหรับการนำไปยื่นเรื่องเรียกร้องค่าสินไหม มีดังนี้

1. ใบเสนอรายการความเสียหายของรถยนต์
ใบเสนอซ่อม เสนอราคา ฯลฯ ซึ่งเป็นเอกสารที่ขอได้จากอู่รถที่เข้าซ่อม ส่วนมากอู่ก็จะถ่ายสำเนา และเซ็นรับรองให้
ซึ่งจะระบุวันที่เราดำเนินการติดต่อซ่อมรถกับอู่ชัดเจน

2. ใบเคลม (ใบรับรองความเสียหายต่อทรัพย์สิน)
ใบที่เจ้าหน้าที่เคลมออกให้ เมื่อรถเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งจะระบุไว้ชัดเจนว่า รถเสียหายตรงไหนบ้าง และเราเป็นฝ่ายถูก

3. ตารางกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์
หน้าแรกกรมธรรม์ประกันภัยของเรา เซ็นต์รับรองสำเนาถูกต้องด้วย

4. สำเนาทะเบียนรถยนต์
เล่มสีน้ำเงิน ที่ระบุวันจดทะเบียน และกรรมสิทธิ์ ชื่อเจ้าของรถยนต์ ซึ่งต้องเป็นชื่อเราคนเรียกร้อง กรณีผ่อนกับไฟแนนซ์ให้ติดต่อแจ้งไป กรณีไม่สะดวกทำเรื่องด้วยตัวเอง ให้มอบอำนาจ

5. สำเนาใบขับขี่รถยนต์

6. ใบรับรถ หรือหนังสือส่งมอบรถเสร็จ
ต้องระบุวันที่เรารับรถซ่อมเสร็จไว้อย่างชัดเจน (ถ้าเขียนว่าประมาณวันที่ … ทางประกันจะไม่พิจารณา เพราะไม่ทราบระยะเวลาที่ซ่อมแน่นอน มีผลต่อการพิจารณาจ่ายค่าสินไหมระหว่างรถซ่อม)

7. รูปถ่ายขณะซ่อม
ขอได้จากอู่รถยนต์ เพราะอู่ต้องถ่ายรูปไว้ทุกขั้นตอน หรือถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไร แต่เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับการเรียก
ค่าสินไหมได้ ว่าซ่อมตรงไหนยังไงบ้าง และใช้ระยะเวลาเท่าใด

8. หนังสือเรียกร้องสินไหมค่าขาดประโยชน์ระหว่างรถซ่อม
ก็คือจดหมายนั่นเอง ตัวอย่างฟอร์มการเขียนจดหมาย ให้เขียนประมาณนี้

วันที่….

เรื่อง เรียกร้องสินไหมค่าขาดประโยชน์ระหว่างรถซ่อม
เรียน แผนกสินไหม

ด้าย ข้าพเจ้า … เจ้าของรถยนต์ … เลขทะเบียน … ถูกรถยนต์ … ซึ่งทำประกันกับ …ชน วันที่ …
ทำให้รถของข้าพเจ้าเสียหายดังนี้…

(ใส่ความเสียหายต่างๆ)

ต้องนำรถเข้าซ่อมเป็นเวลา … ตั้งแต่วันที่ … – วันที่ … รวมเวลา …

ทำให้ข้าพเจ้าขาดประโยชน์ … ต้องใช้รถในการเดินทางไปทำงาน (หรือใช้รถทำอะไรก็ว่าไป) มีค่าใช้จ่าย เป็นค่าเดินทาง ค่าแท็กซี่ ฯลฯ … บาท เวลา … วัน (ระบุให้ชัดเจน)

จึงเรียนมาเพื่อเรียกร้องสินไหมดังกล่าว

ขอแสดงความนับถือ
(ลงชื่อ)

8. บุ๊กแบงก์ (หน้าสมุดบัญชีธนาคาร)

สำหรับให้ประกันโอนเงินเข้าบัญชี ส่วนมากถ้าได้ เขาก็พิจารณาให้เลย ให้ถามเลยว่า ใช้เวลาดำเนินการประมาณกี่วัน กี่อาทิตย์
และเตรียมหน้าสมุดบัญชีไปเผื่อไว้เลย

สำคัญมาก!

1.ขอชื่อ เบอร์ติดต่อ จดชื่อผู้รับเรื่อง จะได้ตามตัวถูกคน ไม่งั้นเรื่องอาจจะเงียบไปได้
2.เตรียมเอกสารให้พร้อม ไม่อย่างนั้นประกัน อาจจะหาเรื่องให้คุณไปเอาเอกสารมาเพิ่มนู่นนี่ จนบางรายขี้เกียจ เลิกเรียกร้องเงินส่วนนี้ไปเลยก็มี
3.เตรียมเอกสารเสำเนาไว้ 2-3 ชุด เก็บไว้เป็นหลักฐานของเราด้วย
4.เซ็นต์รับรองสำเนาถูกต้องทุกแผ่น
5.ให้ขอเลขเรื่องไว้ด้วยเวลาติดต่อ

ถ้าเรียกตามจริง หรือมีหลักฐานใบเสร็จต่างๆ ประกันก็จ่ายให้ ไม่อิดออด แต่ถ้าเรียกร้องมากเกินความจริง เช่น วันละ 1,000 เป็นเดือนๆ เรียกเกินจากความเป็นจริง มากเกินไป แน่นอนว่าเจ้าหน้าที่ของบริษัทประกันจะต้องต่อรอง

ตัวอย่าง ค่าแท็กซี่ วันละ 300 บาท เนื่องจากทำงานไม่เป็นเวลา เช้ามาก ไม่มีรถใช้ บ้านอยู่ซอยลึก ไม่มีรถเข้าออก ต้องเรียกแท็กซี่มารับ ก็เขียนอธิบายไป

ค่าเสื่อมสภาพรถยนต์จากการเกิดอุบัติเหตุ
ประกันถือว่าเขาซ่อมให้แล้วจึงไม่จ่าย และมีแต่การเสื่อมสภาพจากการใช้รถยนต์เท่านั้น ไม่มีจากอุบัติเหตุ คนที่ต้องการส่วนนี้จึงอาจต้องฟ้องแพ่งเอา แต่ถ้าโดนชนไม่มาก เล็กๆ น้อยๆ ประกันไม่จ่ายส่วนนี้ให้ ทางประกันจะจ่าย เฉพาะวันที่เข้าซ่อมเท่านั้น

การเรียกร้องค่าเสียหายเป็นคดีแพ่งฯฐานละเมิด แต่การจงใจหรือมีเจตนาทำให้เสียทรัพย์เป็นคดีอาญาฯที่ยอมความได้ เขารีบจ่ายเงินชดเชยเพราะโทษถึงติดคุก
คนละเรื่องกับอุบัติเหตุที่ไม่ได้เกิดจากเจตนา ที่จะเรียกร้องได้แค่คดีแพ่งฯ ฐานละเมิดอย่างเดียว

ประมวลกฎหมายอาญา

หมวด 8 ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
มาตรา 358 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่ เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 361 ความผิดตาม มาตรา 358 และ มาตรา 359 เป็นความผิดอันยอมความได้





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow