INSURANCETHAI.NET
Thu 12/09/2024 1:55:39
Home » ประกันภัยค้ำจุน อัพเดทประกันภัย » ประกันภัยค้ำจุน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์\"you

ประกันภัยค้ำจุน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

2015/10/20 4834👁️‍🗨️

การประกันภัยค้ำจุน
มาตรา ๘๘๗ อันว่าประกันภัยค้ำจุนนั้น คือสัญญาประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง และซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ
บุคคลผู้ต้องเสียหายชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนตามที่ตนควรจะได้นั้นจากผู้รับประกันภัยโดยตรง แต่ค่าสินไหมทดแทนเช่นว่านี้หาอาจจะคิดเกินไปกว่าจำนวนอันผู้รับประกันภัยจะพึงต้องใช้ตามสัญญานั้นได้ไม่ ในคดีระหว่างบุคคลผู้ต้องเสียหายกับผู้รับประกันภัยนั้น ท่านให้ผู้ต้องเสียหายเรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาในคดีด้วย
อนึ่ง ผู้รับประกันภัยนั้นแม้จะได้ส่งค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้วก็ยังหาหลุดพ้นจากความรับผิดต่อบุคคลผู้ต้องเสียหายนั้นไม่ เว้นแต่ตนจะพิสูจน์ได้ว่าสินไหมทดแทนนั้นผู้เอาประกันภัยได้ใช้ให้แก่ผู้ต้องเสียหายแล้ว

มาตรา ๘๘๘ ถ้าค่าสินไหมทดแทนอันผู้รับประกันภัยได้ใช้ไปโดยคำพิพากษานั้นยังไม่คุ้มค่าวินาศภัยเต็มจำนวนไซร้ ท่านว่าผู้เอาประกันภัยก็ยังคงต้องรับใช้จำนวนที่ยังขาด เว้นไว้แต่บุคคลผู้ต้องเสียหายจะได้ละเลยเสียไม่เรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาสู่คดีด้วยดังกล่าวไว้ในมาตราก่อน

guarantee-insurance-law

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3506/2551
แม้จะได้ความว่าเหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันและไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถยนต์ของโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงต้องถือ ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ล้วนมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายดังกล่าวทั้งหมด จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างลูกหนี้ร่วม โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 หรือคนใดคนหนึ่งต้องรับผิดต่อโจทก์เต็มจำนวนความเสียหายโดยจะแบ่งความรับผิด ต่อโจทก์หาได้ไม่ จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดดังกล่าวเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6277/2550
โจทก์ ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยตามสัญญาประกันภัยในกรณีที่โจทก์ผู้เอา ประกันภัยจะต้องรับผิดเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของ ม. และ ส. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการที่โจทก์กระทำละเมิด ขับรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลยเฉี่ยวชนรถยนต์ของ ม. และ ส. ได้รับความเสียหาย ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ในนามของโจทก์จากจำเลยผู้ รับประกันภัยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 ส่วนที่โจทก์จะได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ ม. และ ส. บุคคลภายนอกแล้วหรือไม่นั้น ไม่ใช่สาระสำคัญเพราะมิใช่กรณีรับช่วงสิทธิ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี แต่การที่จำเลยปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ เนื่องจากมีหลักฐานในเบื้องต้นว่าโจทก์ไม่ได้เป็นผู้ขับรถยนต์ในขณะเกิดเหตุ และคนขับรถของโจทก์ไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์อันเป็นเงื่อนไขที่จำเลยจะไม่ ต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย จึงเป็นการสู้ความโดยมีเหตุสมควร สมควรกำหนดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ขอมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6012/2550
จำเลย ที่ 3 รับประกันภัยรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไว้จากจำเลยที่ 1 โดยตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อบุคคลภายนอกแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก จึงเป็นการประกันภัยค้ำจุนตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคหนึ่ง บริษัท ซ. ได้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 ทำการขนส่งสินค้าของบริษัท ซ. ซึ่งเอาประกันภัยไว้กับโจทก์โดยรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าว แม้โจทก์จะไม่ได้เป็นคู่สัญญากับจำเลยที่ 3 และตามกรมธรรม์ไม่ได้ระบุให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยย่อมต้องรับผิดในนามของจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยเพื่อวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บริษัท ซ. ซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิจากบริษัท ซ. ชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 3 โดยตรงตามมาตรา 887

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6012/2550
จำเลย ที่ 3 รับประกันภัยไว้จากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 ตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อบุคคลภายนอกแทนจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัย ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก การประกันภัยดังกล่าวจึงเป็นการประกันภัยค้ำจุน ดังนี้แม้โจทก์จะไม่ได้เป็นคู่สัญญากับจำเลยที่ 3 และตามกรมธรรม์ดังกล่าวจำเลยที่ 1 ไม่ได้ระบุให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ก็ตาม แต่เมื่อการประกันภัยดังกล่าวเป็นการประกันภัยค้ำจุนและความเสียหายนั้นมี จำนวนไม่เกินวงเงินที่จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดชอบ จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันกันย่อมต้องรับผิดในนามของจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บริษัท ซ. ซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ ทั้งบริษัทดังกล่าวบุคคลผู้ต้องเสียหายชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนตามที่ ตรควรจะได้นั้นจากจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยโดยตรง ที่จำเลยที่ 3 อ้างว่ามีข้อตกลงพิเศษว่ากรมธรรม์นี้จะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น กรณีทรัพย์สินที่บรรทุกนั้นมีกรมธรรม์ประกันภัยชนิดอื่นหรือประเภทอื่นรับ ผิดชอบอยู่แล้ว จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4814/2550
พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 90/60 วรรคสอง บัญญัติว่า คำสั่งของศาลซึ่งเห็นชอบด้วยแผนไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดของบุคคลซึ่ง เป็นหุ้นส่วนกับลูกหนี้ หรือผู้รับผิดร่วมกับลูกหนี้ หรือผู้ค้ำประกันหรืออยู่ในลักษณะอย่างผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ในหนี้ที่มี อยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน… ดังนั้นการที่โจทก์มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภาย ในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนและต่อมาศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกเลิก การฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 1 จึงมีผลให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากหนี้ที่โจทก์อาจขอรับชำระหนี้ได้ในการฟื้นฟูกิจการ แต่คงมีผลเฉพาะจำเลยที่ 1 เท่านั้น ที่โจทก์หมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ และหนี้นั้นหาได้ระงับหมดสิ้นไปไม่ ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ซึ่งอาจต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในมูลละเมิดต้องเป็นไปตามสัญญาประกันภัย และบทบัญญัติใน ป.พ.พ.ว่าด้วยเรื่องประกันภัยค้ำจุน การที่จำเลยที่ 1 หลุดพ้น ไม่กระทบถึงสิทธิของโจทก์ที่มีต่อจำเลยที่ 2 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1631/2550
โจทก์ ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดในฐานะเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุซึ่งจำเลยที่ 1 ได้เอาประกันภัยไว้ แต่ตามคำฟ้องของโจทก์มิได้กล่าวอ้างหรือแสดงว่าจำเลยที่ 2 รับประกันภัยจากจำเลยที่ 1 ในลักษณะประกันภัยค้ำจุน ซึ่งจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง และมิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่า ว. ผู้ขับรถยนต์มีนิติสัมพันธ์อย่างไรกับจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัย ซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบในผลแห่งละเมิดของ ว. ด้วย ฟ้องโจทก์จึงขาดสาระสำคัญอันเป็นมูลที่จะให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด เท่ากับคำฟ้องโจทก์มิได้บรรยายข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่จะให้ผู้ รับประกันภัยต้องรับผิด เป็นคำฟ้องที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม แม้ต่อมาจำเลยที่ 2 จะแก้ไขคำให้การว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันที่เกิดเหตุ ก็ไม่ทำให้คำฟ้องของโจทก์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่แรกกลับเป็นคำฟ้องที่ชอบ ด้วยกฎหมายขึ้นมาได้ และศาลจะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีจำเลยที่ 2 โดยไม่อาศัยคำฟ้องไม่ได้ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2549
การประกันภัยค้ำจุนตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 เป็นการประกันวินาศภัยอย่างหนึ่ง ซึ่งบัญญัติแยกไว้ในส่วนที่ 3 ของหมวด 2 อายุความฟ้องร้องให้ผู้รับประกันภัยค้ำจุนรับผิด จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 882 ซึ่งบัญญัติเป็นบทเบ็ดเสร็จทั่วไปในส่วนที่ 1 ของหมวดเดียวกัน อันเป็นกำหนดอายุความที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจเทียบได้กับกรณีประกันชีวิตซึ่งบัญญัติไว้ในหมวดอื่นและไม่อาจนำ อายุความทั่วไปตามมาตรา 193/30 มาใช้บังคับแก่กรณีประกันภัยค้ำจุนได้
การเรียกร้องให้ผู้รับประกันภัยค้ำจุนรับผิดในค่าสินไหมทดแทนนั้น ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคสอง บัญญัติว่า “บุคคลผู้ต้องเสียหายชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนตามที่ตนควรจะได้นั้นจาก ผู้รับประกันภัยโดยตรง…ฯลฯ” โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 4 ให้รับผิดในค่าสินไหมทดแทนได้โดยไม่จำต้องแสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์จาก สัญญาก่อน ทั้งอายุความฟ้องร้องตามมาตรา 882 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันวินาศภัยก็เป็นการ บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วว่าให้นับแต่วันเกิดวินาศภัย จึงไม่อาจนำหลักทั่วไปในการนับอายุความตามมาตรา 193/12 มาบังคับใช้แก่กรณีนี้หรือนำมาตีความเป็นอย่างอื่นได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันวินาศภัยคดีของโจทก์ในส่วนของจำเลย ที่ 4 จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5590/2548
ตามกรมธรรม์ จำเลยร่วมผู้รับประกันภัยจะต้องชดใช้ค่าทดแทนในนามของจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัย ซึ่งจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย แม้ว่าจะมีข้อยกเว้นไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการขับขี่โดยบุคคลที่ ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับขี่ใด ๆ แต่ก็มีข้อสัญญาพิเศษว่า จำเลยร่วมจะไม่ยกเอาความไม่สมบูรณ์แห่งกรมธรรม์ประกันภัยหรือความประมาท เลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 2 เป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกเพื่อปฏิเสธความรับผิด เมื่อจำเลยร่วมได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้ว แต่จำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดตามกฎหมายหรือตามกรมธรรม์ต่อจำเลยที่ 2 เพราะเป็นกรณีซึ่งจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก จำเลยที่ 2 ต้องใช้เงินจำนวนที่จำเลยร่วมได้จ่ายไปคืนให้แก่จำเลยร่วม ซึ่งมีความหมายว่า กรณีที่ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันเกิดจากการขับขี่ของบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับขี่ใด ๆ จำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 2 แต่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในจำนวนเงินที่จำกัดความรับผิดไว้ในตาราง กรมธรรม์ประกันภัย แล้วไปไล่เบี้ยเอากับจำเลยที่ 2 ดังนั้น จำเลยร่วมจึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแต่ไม่เกินวงเงิน ประกันที่จำกัดความรับผิดไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4997/2548
คำฟ้องโจทก์บรรยายแล้วว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างและขับรถไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ได้ขับรถโดยประมาทเฉี่ยวชนรถยนต์บรรทุกที่ลูกจ้างโจทก์ขับได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ซึ่งเพียงพอให้จำเลยทั้งสองเข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้ ส่วนที่ไม่ได้ระบุว่าลูกจ้างโจทก์เป็นใคร มิใช่ข้อสาระสำคัญและเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 วันเกิดเหตุขับรถยนต์ของจำเลยที่ 1 พารองประธานกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ไปด้วย แสดงว่าจำเลยที่ 2 ขับรถไปตามคำสั่งของผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ถือว่าทำตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 แม้จะเป็นวันหยุดมิใช่วันทำงานปกติของจำเลยที่ 2 ก็เป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าเกิดเหตุนอกเวลาทำการงานของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดหาได้ไม่
โจทก์นำรถยนต์บรรทุกไปซ่อมแซมไม่สามารถใช้งาน ได้เป็นเวลา 173 วัน โจทก์มีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์จากการใช้รถในระหว่างซ่อมแซม และค่าเสียหายจากการขาดรายได้ที่ส่งหนังสือพิมพ์ซึ่งบรรทุกอยู่ในรถขณะเกิด เหตุไปจำหน่ายไม่ทันและหนังสือพิมพ์ถูกส่งคืน
ตามกรมธรรม์ระบุว่า จำเลยร่วมจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยจะ ต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย เพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกเนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจาก การใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัย ดังนี้ ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถและค่าเสียหายที่ขาดรายได้จากหนังสือพิมพ์ของ โจทก์ที่ส่งล่าช้าจำหน่ายไม่ได้ ย่อมเป็นความเสียหายต่อทรัพย์สินของโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก อันเกิดจากการกระทำละเมิดโดยตรงที่จำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยร่วมจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยทั้งสองต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 580/2519
โจทก์ เอาประกันภัยรถยนต์ไว้กับจำเลย สำหรับความเสียหายอันเกิดแก่ทรัพย์สินของบุคคลอื่นโดยรถยนต์นั้น ในวงเงินไม่เกิน 50,000 บาทต่อมาลูกจ้างของโจทก์ขับรถยนต์ดังกล่าวชนผู้อื่นบาดเจ็บและเสียชีวิตหลาย คน โจทก์ถูกผู้เสียหายฟ้องและได้ใช้ค่าเสียหายไปแล้วบางรายโจทก์จึงฟ้องให้ จำเลยชำระเงินค่าเสียหายที่โจทก์จ่ายไปแล้ว ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน จำเลยยอมใช้เงินให้โจทก์ 29,000 บาท คดีถึงที่สุด โจทก์มาฟ้องให้จำเลยรับผิดสำหรับค่าเสียหายที่โจทก์จ่ายให้แก่ผู้เสียหายที่ ถูกรถของโจทก์ชนเป็นคดีนี้อีก ดังนี้ แม้จำนวนเงินค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องในคดีนี้บางส่วนจะเป็นเงินที่โจทก์ ชำระให้แก่ผู้เสียหายต่างรายกันกับผู้เสียหายในคดีก่อนก็ตามแต่ก็เป็นคดีที่ โจทก์ฟ้องเรียกเงินชดใช้ตามกรมธรรม์ ซึ่งมีประเด็นวินิจฉัยเป็นอย่างเดียวกันว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชด ใช้เงินได้เพียงไรหรือไม่ และศาลต้องวินิจฉัยถึงความรับผิดของจำเลยโดยอาศัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ อุบัติเหตุรายเดียวกัน อาศัยกรมธรรม์ฉบับเดียวกัน ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2518
โจทก์ ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ของจำเลยตามกรมธรรม์ประกันภัยมีว่า โจทก์จะใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกรายหนึ่ง ๆ ไม่เกิน 10,000 บาท รถยนต์ของจำเลยคันนั้นได้ชนกับรถยนต์คันอื่น ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดชอบโจทก์ได้ซ่อมรถคันที่ถูกชนนั้นสิ้นเงินไป 25,000 บาท ขอให้จำเลยใช้เงิน 15,000 บาท ที่โจทก์จ่ายเกินไปให้โจทก์ดังนี้ บุคคลภายนอกผู้ต้องเสียหายชอบที่จะได้รับเงินค่าซ่อมรถจากโจทก์เป็นจำนวน เท่าที่โจทก์กับจำเลยได้ตกลงกันไว้ในกรมธรรม์ส่วนจำนวนที่ยังขาดอยู่นั้นชอบ ที่จะเรียกร้องให้จำเลยใช้ให้ โจทก์ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะจ่ายเงินค่าซ่อมรถให้ผู้ต้องเสียหายเกิน กว่าความรับผิดของตนซึ่งจำกัดไว้เพียง 10,000 บาท แต่เมื่อได้จ่ายไปแล้วแม้จำเลยจะไม่ได้มอบหมายให้จัดการแทนก็ตาม ก็ย่อมเป็นผลทำให้หนี้ค่าซ่อมรถที่ยังขาดอยู่นั้นระงับไป และจำเลยหลุดพ้นความรับผิดต่อผู้ต้องเสียหายจึงอาจสมประโยชน์ของจำเลยซึ่ง เป็นตัวการและต้องตามความประสงค์อันแท้จริงของตัวการหรือความประสงค์ตามที่ จะพึงสันนิษฐานได้ กรณีตามฟ้องเป็นเรื่องจัดการงานนอกสั่งที่อาจจะก่อให้เกิดหนี้ที่ผูกพัน จำเลยให้ต้องชดใช้เงินที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการได้ออกทดรองจัดการงานให้ จำเลยไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 401 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยศาลชอบที่จะรับฟ้องไว้พิจารณา





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow