INSURANCETHAI.NET
Tue 03/12/2024 0:06:00
Home » อัพเดทประกันภัย » การต่อภาษีรถยนต์\"you

การต่อภาษีรถยนต์

2013/12/03 1785👁️‍🗨️

การต่อภาษีรถยนต์

การต่อภาษีรถยนต์ สามารถต่อภาษีล่วงหน้าก่อนวันครบกำหนดเสียภาษีได้ไม่เกิน 90 วัน

เอกสารที่ใช้ในการต่อภาษีรถยนต์

1. ใบคู่มือจดทะเบียนรถ (เล่มทะเบียนรถ) หรือ สำเนาทะเบียนรถ
2. พ.ร.บ. รถ ที่ยังไม่หมดอายุ ความคุ้มครอง
3. ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์ ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป)

vehicle-tax
สำหรับกรณี ที่ต้องใช้เอกสารเพิ่มเติม

– รถติดตั้งก๊าซ LPG หากติดตั้งมานานเกินกว่า 5 ปี ต้องใช้ใบรับรองการตรวจและทดสอบ มาด้วย – รถติดตั้งก๊าซ NGV/CNG ต้องมีใบรับรองวิศวกรประกอบการต่อภาษีด้วย (ต้องใช้ทุกปี) (ยกเว้นรถที่ติดตั้งก๊าซ NGV/CNG มาจากโรงงานรถ ไม่ต้องใช้ใบรับรองวิศวกร ในช่วง 3 ปี แรก)
– รถที่ค้างชำระภาษีประจำปีติดต่อกันเกิน 3 ปี (รถทะเบียนระงับ) ให้นำแผ่นป้ายทะเบียน (ป้ายเหล็ก) และเล่มทะเบียนมาคืน พร้อมทั้งเสียภาษีย้อนหลังและค่าปรับล่าช้า และนำรถมาตรวจสภาพตอนจดทะเบียนใหม่ที่กรมการขนส่งทางบก

สิ่งที่ควรทราบ

1. ถ้าไม่ได้เสียภาษีรถ (ภาษีขาด) หรือเสียภาษีรถช้ากว่าวันที่กำหนด จะต้องชำระเงินนอกเหนือจากภาษีเพิ่มอีกร้อยละหนึ่งต่อเดือน (ค่าปรับล่าช้า) แต่ถ้าหากค้างชำระภาษีประจำปีติดต่อกันเกิน 3 ปี รถคันดังกล่าวจะถูกระงับทะเบียน

2. รถที่จดทะเบียนแล้ว แม้จะไม่ได้ใช้ก็ต้องเสียภาษีประจำปี เว้นแต่เจ้าของรถจะแจ้งการไม่ใช้รถต่อนายทะเบียนก่อนถึงกำหนดเสียภาษี ประจำปีครั้งต่อไป

3. การดำเนินการทางทะเบียนรถดังต่อไปนี้ เจ้าของรถต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายในเวลาตามที่กฏหมายกำหนด มิฉะนั้นจะมีโทษปรับตามกฏหมาย

การเปลี่ยนสีรถ ต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 7 วัน นับแต่วันเปลี่ยนแปลง
การย้ายรถ ต้องแจ้งย้ายเข้าต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน นับแต่วันแจ้งย้ายออก
การโอนรถ ต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน นับแต่วันโอน
การเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิง (ติดตั้งก๊าซ LPG หรือ NGV) ต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ติดตั้ง (ในใบรับรองวิศวกร)

การตรวจสภาพรถ
ระยะเวลาที่ต้องนำรถไปตรวจสภาพ การตรวจสภาพรถ เจ้าของสามารถนำรถไปตรวจสภาพล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน ก่อนถึงวันสิ้นอายุภาษีประจำปี

ประเภท รถที่ต้องเข้ารับการตรวจสภาพ ก่อนต่อทะเบียน
กรมการขนส่งทางบกมีหน้าที่รับผิดชอบการตรวจสภาพรถ ทั้งรถที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 และตามพระราชบัญญัติรถยนตร์ พ.ศ. 2522 รถที่จะนำมาใช้ในการขนส่งตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 หรือ นำมาจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติรถยนตร์ พ.ศ. 2522 จะต้องมีสภาพมั่นคง แข็งแรง มีลักษณะ ขนาด และเครื่องอุปกรณ์ส่วนควบของรถ ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับรถ ผู้โดยสารไปกับรถคันนั้น ผู้ขับขี่รถคันอื่น ๆ คนเดินถนน รวมทั้งสภาพแวดล้อมต่าง ๆ

1. รถที่อยู่ในข่ายต้องตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี ณ.สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.)
1.1 รถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกทุกประเภท โดยไม่จำกัดอายุการใช้งาน
1.2 รถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ประเภทรถดังนี้
– รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 คน ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป
– รถยนต์นั่งส่วนบุคคล เกิน 7 คน ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป
– รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป
– รถจักรยานยนต์ ที่มีอายุใช้งานครบ 5 ปี ขึ้นไป

คำเตือน
(1) ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขซึ่งได้ กำหนดในกฏกระทรวง ออกตามความในมาตรา 74 แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 อาจถูกนายทะเบียนกลางเพิกถอนใบอนุญาตนั้นได้
(2) ผู้ได้รับใบอนุญาตผู้ใดโดยทุจริตหรือจงใจออกใบรับรองการตรวจสภาพรถ
ไปโดยไม่ตรง ตามความเป็นจริง ย่อมมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทและนายทะเบียนกลางมีอำนาจสั่งเพิกถอน
ใบอนุญาตตั้งสถานตรวจสภาพรถนั้นเสียได้
(3) ผู้ใดในการประกอบการงานวิชาชีพใด ทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จ โดยประการที่ น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนผู้นั้นอาจ
มีความผิดตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 269 ซึ่งระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow