INSURANCETHAI.NET
Tue 19/03/2024 14:21:41
Home » อัพเดทประกันภัย » การระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการ ของสำนักงาน คปภ. (ประกันภัย)\"you

การระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการ ของสำนักงาน คปภ. (ประกันภัย)

2016/03/19 2073👁️‍🗨️

การระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการ ของสำนักงาน คปภ. มีวิธีดำเนินการอย่างไร?

กระบวนการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการ เป็นการระงับข้อพิพาททางเลือกอีกรูปแบบหนึ่ง ที่มีความเป็นสากลภายใต้ “อนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ” หรือ New York Convention 1958 ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคสมาชิกดังกล่าวด้วย

dispute-resolution-by-arbitration-of-the-oic-insurance

สำหรับประเทศไทยได้มีการตรากฎหมายเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการขึ้นภายในประเทศขึ้น ได้แก่ พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการฯ เป็นกฎหมายแม่บทในการดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวนี้

ดังนั้น ในการดำเนินการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการของศาลยุติธรรม หรือสถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม หรือสำนักงาน คปภ หรือสถาบันอื่นใดที่จัดให้มีการระงับข้อพิพาททางเลือกรูปแบบอนุญาโตตุลาการนี้ ต้องอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการเช่นเดียวกัน

และการที่หน่วยงานใดจะได้ตราระเบียบ ข้อบังคับ เกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการ เพื่อใช้บังคับกับการระงับข้อพิพาทตามขอบเขตอำนาจของหน่วยงานนั้น ต้องสอดคล้องและไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ

สรุปแล้ว กระบวนการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการ ไม่จะจัดทำขึ้นที่หน่วยงานใด ก็ใช้หลักการในการดำเนินกระบวนการเหมือนกัน แต่อาจมีความแตกต่างกันในเรื่องรูปแบบของเอกสาร หรือค่าใช้จ่ายในดำเนินกระบวนพิจารณาเท่านั้น

หากเสนอเรื่องให้ระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยแล้วจะทำให้ได้รับค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนจำนวน ที่สูงกว่าความเป็นจริง ทำให้บริษัทประกันภัยที่ถูกเรียกร้องไม่ได้รับความเป็นธรรม และมีความเข้าใจว่ากระบวนการอนุญาโตตุลาการเอื้อประโยชน์แก่ฝ่ายผู้เสนอข้อพิพาท และกระบวนการดังกล่าว ยังเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มทนายความบางกลุ่มที่รับ เป็นผู้แทนผู้เสนอข้อพิพาทให้กับประ ชาชนผู้เอาประกันภัยเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์นั้น

สำนักงาน คปภ. ขอชี้แจงทำ ความเข้าใจว่า ความเข้าใจดังกล่าวเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เนื่องจากกระบวนการระงับข้อพิพาท ด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการเป็นกระบวน การระงับข้อพิพาทที่มีกฎหมาย ระเบียบ รองรับการดำเนินงาน และการพิจารณา ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนก็เป็นไปตามหลักความเสียหายที่แท้จริงตามเงื่อนไขของสัญญาประกันภัยโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังมีข้อเท็จจริงดังนี้

1.กระบวนการระงับข้อพิพาท ด้วยวิธีการอนุญาโตตุลาการของสำนัก งาน คปภ. เป็นการระงับข้อพิพาททางแพ่งและพาณิชย์อันเนื่องจากสัญญาประกันภัย ระหว่างผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ ผู้มีส่วนได้เสีย หรือผู้มีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัย กับบริษัทประกันภัย โดยการเรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนของประชาชนที่ได้รับความเสียหายตามสัญญาประกันภัยดังกล่าว เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามสัญญาประกันภัยตามปกติ เนื่องจาก
เงื่อนไขทั่วไปของกรมธรรม์ประกันภัยมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการใช้กระบวนการระงับ ข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ ของสำนักงาน คปภ. หากมีข้อพิพาทตามสัญญาประกันภัยเกิดขึ้น

ดังนั้น การเสนอข้อพิพาทเพื่อใช้กระบวนการระงับข้อพิพาทดังกล่าวจึงเป็นการใช้สิทธิโดยชอบตามกฎหมาย และการดำเนินกระบวนการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการดังกล่าวได้มีกฎหมายรองรับการดำเนินการ ได้แก่ ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2551 และพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 รวมทั้งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย

2.เกี่ยวกับประเด็นที่ว่า เมื่อผู้เสนอข้อพิพาทได้ยื่นคำเสนอข้อพิพาทเรียกร้องค่าเสียหายกับบริษัทประกันภัยต่อสำนักงาน คปภ. เพื่อให้มีการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการนั้น จะทำให้ได้รับค่าเสียหายจำนวนที่สูงกว่าความเป็นจริง ทำให้บริษัทประกันภัยที่ถูกเรียกร้องไม่ได้รับความเป็นธรรมนั้น ส่วนอนุญาโตตุลาการ สำนักงาน คปภ. ได้วิเคราะห์แล้วเห็นว่า การพิจารณาเรื่องร้องเรียนกรณีการเรียกร้องให้ชดใช้ ค่าเสียหายตามเงื่อนไขสัญญาประกันภัย ไม่ว่าในชั้นการพิจารณาเรื่องร้องเรียนของพนักงานเจ้าหน้าที่ หรืออนุญาโต ตุลาการ หรือศาล ก็ต้องเป็นไปตามกรอบ ของกฎหมาย ตามสิทธิและหน้าที่ ตามเงื่อนไขสัญญาประกันภัย คือ ความเสียหายที่เกิดขึ้นต้องเป็นความเสียหายที่มีความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย และการชดใช้ค่าเสียหายของบริษัทประกันภัยก็จะต้องชดใช้ตามความเสียหายที่แท้จริง จะชดใช้เกินกว่าความเสียหาย หรือเกินจำนวนเงินเอาประกันภัยมิได้ เนื่องจากจะเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมาย และการที่ได้มีทนายความเข้ามาเป็นผู้แทนผู้เสนอข้อพิพาท ถือว่าเป็นสิทธิโดยชอบของประชาชนผู้เอาประกันภัยที่จะหาผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับข้อพิพาทหรือความรู้ด้านกฎหมายเข้ามาช่วยเหลือเกี่ยวกับกระบวนพิจารณา เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ของตนเองและทนายความเหล่านั้นต้องอยู่ภายใต้กระบวนการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการตามกฎหมาย อีกทั้งการพิจารณาเรียกร้องค่าเสียหายต้องอยู่ในกรอบของสิทธิเรียกร้องตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวแล้วข้างต้น จึงเป็นเรื่องปกติ และไม่มีผู้ใดเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในกระบวนการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการของสำนักงาน คปภ. แต่อย่างใด

3.กรณีเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า เมื่อมีการร้องเรียนให้สำนักงาน คปภ. พิจารณาแล้วอาจทำให้ประชาชนผู้เอาประกันภัยได้รับรู้ถึงสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยที่อยู่ในความคุ้มครองที่ถูกต้อง โดยผู้เอาประกันภัยหรือประชาชนไม่ทราบมาก่อนว่าบริษัทประกันภัยมีหน้าที่ ต้องชดใช้หากมีความเสียหาย เช่น ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ ค่าขาดรายได้ ค่าขาดไร้อุปการะ หรือค่าเสียหายที่เกี่ยวเนื่องจากการกระทำละเมิด เป็นต้น

เมื่อบริษัทประกันภัยบางบริษัทต้องจ่ายค่าเสียหายกรณีดังกล่าวเพิ่มเติม จึงเข้าใจว่า ทำให้บริษัทเสียหายจากการที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมเพิ่มเติม หรือเข้า ใจว่ามีกลุ่มบุคคลมาแสวงหาประโยชน์ในกระบวนการดังกล่าว ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องและคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริง เนื่องจากเป็นสิทธิประโยชน์ของประชาชนผู้เอาประกันภัยตามสัญญาประกันภัยโดยชอบด้วยกฎหมาย





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow