INSURANCETHAI.NET
Fri 26/04/2024 12:38:02
Home » ประกันความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ประกันภัยความรับผิดต่อสาธารณะ » การประกันภัยความรับผิดต่อสาธารณชน Public Liability Insurance\"you

การประกันภัยความรับผิดต่อสาธารณชน Public Liability Insurance

2017/06/28 5474👁️‍🗨️

การประกันภัยความรับผิดต่อสาธารณชน Public Liability Insurance
การประกันภัยความรับผิดต่อสาธารณะ หรือ การประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายต่อสาธารณชน
เป็นการประกันวินาศภัยปที่ให้ความคุ้มครองต่อความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับบุคคลภายนอก
– ความเสียหายต่อทรัพย์สิน
– ความบาดเจ็บทางร่างกาย
– การเสียชีวิตของบุคคลภายนอก
ซึ่งผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชดใช้ตามกฎหมาย แต่ไม่ให้ความคุ้มครองต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยตรงต่อทรัพย์สินหรือร่างกายของผู้เอาประกันภัย

ชนิดของการประกันภัยความรับผิดต่อสาธารณะ
1. การประกันภัยความรับผิดต่อสาธารณชนส่วนบุคคล
2. การประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายต่อสาธารณชน ของผู้ประกอบการหรือนิติบุคคล

การประกันภัยความรับผิดต่อสาธารณชนส่วนบุคคล
การประกันความรับผิดต่อสาธารณชนส่วนบุคคล ได้แก่…

1. ความรับผิดของแพทย์ ศัลยแพทย์ และทันตแพทย์ต่อคนไข้
โดยการประกันภัยนี้จะให้ความคุ้มครองแก่แพทย์
ศัลยแพทย และ ทันตแพทย์ ซึ่งรวมทั้งพยาบาล และผู้ช่วยแพทย์ที่ทําตามคําสั่งแพทย์ในกรณีที่เกิดความ เสียหายแก่คนไข้
เนื่องมาจากความบกพร่องพลั้งพลาดในการรักษาพยาบาลไม่ว่าการปฏิบัติจะอยู่ต่อหน่าแพทย์หรือไม่ก็ตาม รวมถึงความ
เสียหายที่ทําให้คนไข้ต้องสูญเสียรายได้ด้วย

ข้อยกเว้นที่สําคัญ คือ…
ผู้รับประกันจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้น เนื่องจากการกระทําของบุคคลเหล่านั้นในขณะที่เมาสุราหรือติดยาเสพติด

2. ความรับผิดของเภสัชกรต่อผู้ซื้อยา (DRUGGIST’S LIABILITY)
ให้ความคุ้มครองแก่เภสัชกรเมื่อผู้ซื้อยา ได้รับความเสียหาย เนื่องจากรับประทานยาที่ผสมผิดส่วน หรือผู้ขายยาหยิบยาให้ผิดประเภท ไม่ว่าจะเกิดขึ้น ทันทีหรอภายหลังจากใช้ยานั้นติดต่อสืบเนื่องมาเป็นเวลานานก็ตามแต่ต้องเกิดขึ้นระหว่างสัญญามีผลใช้บังคับ

ข้อยกเว้นที่สําคัญ คือ…
ผู้รับประกันภัยจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทําที่ขัดต่อกฎหมายขายยา

3. ความรับผิดของโรงพยาบาลต่อคนไข้ ( HOSPITAL LIABILITY)
ให้ความคุ้มครองโรงพยาบาลในการดูแลรักษาคนไข้ รวมถึงการให้อาหารอันเนื่องมาจากความประมาทเลินเล่อของแพทย์ พยาบาล หรือคนงานประจําโรงพยาบาลหรือคลินิค ไม่ว่าความเสียหายจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกโรงพยาบาลก็ตาม

ข้อยกเว้นที่สําคัญ คือ…
ผู้รับประกันภัยจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายเนื่องมาจากการกระทําอันเป็นอาชญากรรม

4. ความรับผิดของจักษุแพทย์ต่อคนไข้ ( OPTOMETRIST’S LIABILITY)
ให้ความคุ้มครองความบกพร่องประมาทเลินเล่อ ในการปฏิบัติหนาที่ของจักษุแพทย์เท่านั้น ไม่รวมถึงการกระทําของลูกจ้าง

5. ความรับผิดของร้านเสริมสวยต่อลูกค้า (BEAUTY PARLOR LIABILITY)
ให้ความคุ้มครองในความ ประมาทเลินเล่อของร้านเสริมสวยหรือความเสียหายบาดเจ็บที่เกิดแก่ลูกค้า ในการให้หรือบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ซื้อจากร้านเสริมสวย

ข้อยกเว้นที่สําคัญ คือ…
ผู้รับประกันภัยจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายเนื่องมาจากการตบแต่งอันมิชอบด้วยกฎหมาย

6. ความรับผิดของผู้ทําบัญชีและผู้สอบบัญชีต่อผู้ว่าจ้าง ( ACCOUNTANT LIABILITY)
ให้ความ คุ้มครองในความประมาทเลินเล่อของผทําบัญชีในการก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ว่าจ้าง

ข้อยกเว้นที่สําคัญ คือ…
ผู้รับประกันจะไม่รับผิดชอบต่อการกระทําของผู้ทําบัญชีหรือผู้สอบบัญชีที่ส่อเจตนา ทุจริตหรือฉ้อโกง

การประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายต่อสาธารณชนของ ผู้ประกอบการหรือนิติบุคคล ได้แก่
1. การประกันความรับผิดต่อบุคคลภายนอกของเจ้าของ ผู้ให้เช่า และ ผู้เช่าสถานที่ (OWNERS’LANDLORDS’
AND TENANTS’ LIABILITY) การประกันความรับผิด ต่อบุคคลภายนอกอันเกิดจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นต่อบุคคลภายนอก
อันเนื่องจากการบํารุงรักษาและการดูแลสถานที่ ยังผลให้เกิดความสูญเสียหรือเสียหายต่อทรัพย์สินและ / หรือความบาดเจ็บ
ทางร่างกาย การประกันภัยประเภทนี้เหมาะสําหรับเจ้าของโรงงาน เจ้าของห้างสรรพสินค้า เจ้าของอาคารพาณิชยกรรม ผู้
เช่าโรงงาน เป็นต้น

2. การประกันความรับผิดของผู้ทําาการผลิตและผู้รับเหมา ( MANUFACTURERS’ AND CONTRACTORS’
LIABILITY INSURANCE) คือการประกันความรับผิดต่อบุคคลภายนอกอันเกิดจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นต่อบุคคลภายนอก
เนื่องจากการปฏิบัติงานและยังผลให้ความสูญเสียหรือเสียหายต่อทรัพย์สิน และ/หรือ ความบาดเจ็บทางร่างกาย การ
ประกันภัยประเภทนี้เหมาะ สําหรับผู้รับเหมางานก่อสร้างต่าง ๆ เช่น งานก่อสร้างทางโครงการรถไฟฟ้า ผู้ประกอบการผลิต
เป็นต้น

3. การประกันความรับผิดต่อผลิตภัณฑ์ (PRODUCT LIABILITY) หมายถึง การคุ้มครองผู้ผลิตสินค้าเมื่อมีการเสียหายเกิดขึ้นกับผู้บริโภคสินค้า

4. การประกันความรับผิดของนายจ้างต่อลูกจ้าง ( EMPLOYER’S LIABILITY) หมายถึง ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ แก่ลูกจ้าง และลูกจ้างสามารถพิสูจน์ได้ว่าเหตุที่เกิดขึ้นจากความประมาทเลินเล่อของนายจ้าง การประกันภัยดัง กล่าวจะให้ความคุ้มครองแก่นายจ้าง

5. การประกันความรับผิดตามสัญญา ( CONTRACTUAL LIABILITY) หมายถึง การให้ความคุ้มครองความรับ
ผิดอันเกิดจากสัญญา เช่น บริษัทที่ประกอบธุรกิจดูแล และบํารุงรักษาลิฟท์ ได้ทําสัญญา กับผู้ว่าจ้าง ขณะเดียวกันได้ขอทํา
ประกันภัยความรับผิดอันเกิดจากสัญญาว่าจ้างบํารุงรักษาดูแลลิฟท์ ว่าถ้าเกิดความเสียหายต่อผู้ใช้ลิฟท์ทั้งทางร่างกายและ
ทรัพย์สินผู้ใช้ลิฟท์สามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้

6. การประกันความรับผิดอย่างกว่างขวางของผู้ประกอบธุรกิจต่อบุคคลอื่น ( COMPREHENSIVE GENERAL LIABILITY) การประกันประเภทนี้ให้ขอบเขตความคุ้มครองหลายประเภทในสถานที่ประกอบการแห่งเดียว เช่น โรงแรม
จะมีความรับผิดต่อผู้มาใช้บริการต่าง ๆ ในโรงแรม เช่น สระว่าย น้ํา บันไดเลื่อน ห้องอาหาร ห้องออกกําลังกาย สถานที่
จอดรถ ทรัพย์สินในห้องพักเสียหาย เป็นต้น

หลักเกณฑ์ในการจ่ายค่าสินไหมทดแทน
การประกันภัยความรับผิดต่อสาธารณะมีหลักเกณฑ์ในการจ่ายค่าสินไหมทดแทน ดังนี้
1. บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย นั่นหมายถึง บริษัทประกันภัย สามารถที่จะ
จ?ายเงินค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายได้โดยตรง แม้ว่าบริษัทประกันภัยจะไม่มีนิติสัมพันธ์
ใด ๆ กับผู้เสียหาย

2. สาเหตุที่เกิดความรับผิดซึ่งทําให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลภายนอกนั้น จะต้องเกิดขึ้นโดยอุบัติเหตุ ซึ่งหมายถึง
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยฉับพลันและไม่ได้คาดคิดมาก่อน เป็นเหตุการณ์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นโดยเจตนาแต่เกิดขึ้นโดยความ
ประมาทเลินเล่อของผู้เอาประกันภัย

3. บริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย หรือบุคคลภายนอกเฉพาะจํานวนเงินที่ผู้เอาประกันภัยจะ
ต้องรับผิดตามกฎหมายเท?านั้น ถ้าเป็นความรับผิดอย่างอื่นที่ไม่มีกฎหมายรองรับบริษัท ประกันภัยก็ไม่มีความผูกพันจะ
ต้องจ่าย

4. บุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหาย หมายถึง บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่ไม่ใช่เป็นบุคคลใน ครอบครัว หรือบุคคล
ที่อยู่ด้วยกันกับผู้เอาประกันภัย ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงหรือโดยอ?อมกับกิจการของผู้เอาประกันภัย หรือลูกจ้างของผู้เอา
ประกันภัยขณะอยู่ในระหว่างทางการที่จ้าง หรือบุคคลผู้ซึ่งในขณะเกิดอุบัติเหตุอยู่ใน ระหว่างการปฏิบัติงานให้ผู้เอา
ประกันภัยภายใต้สัญญาว่าจ้างหรือการฝึกงาน

5. บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนภายในวงเงินที่กําหนดไว้ในกรมธรรม์หรือเรียกว่า “จํานวนเงินจํากัดความรับผิด” (Limit of Liability)

กรณีที่บริษัทประกันภัยอาจปฏิเสธการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ผู้รับประกันภัยอาจปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทนได้ หากความรับผิดนั้นเป็น…
1. ความรับผิดของผู้เอาประกันภัยที่มีต่อลูกจ้างภายใต้กฎหมายเรื่อง กองทุนทดแทน (Workmen Compensation) เช่น กรณี
ลูกจ้างได้รับอุบัติเหตุในงานที่ทําให้ได้รับบาดเจ็บ ทุพพลภาพหรือเสียชีวิต กรมธรรม์ความรับผิดตาม
กฎหมายต่อสาธารณชนจะไม่คุ้มครอง ผู้เอาประกันภัยต้องจัดทําการประกันภัย ทดแทนแรงงานแยกต่างหาก

2. ความรับผิดของผู้เอาประกันภัยในฐานะที่เป็นนายจ้างจะต้องรับผิดต่อลูกจ้าง ทําให้ลูกจ้างต้องได้รับบาดเจ็บ ทุพพลภาพ
หรือเสียชีวิต อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุในการทํางานใหแก่นายจ้าง ดังนั้น นายจ้างจะต้องจัดทําประกันภัยความรับผิดของ
นายจ้างต่อลูกจ้างแยกต่างหาก

3. ความรับผิดที่ผู้เอาประกันภัยยอมรับเอาเอง
หมายถึง การที่ผู้เอาประกันภัยภัยทําสัญญาตกลงกับบุคคลอื่น ในการยอมรับผิดมากกว่าความรับผิดที่กฎหมายปกติกําหนดไว้ ซึ่งหากผู้เอาประกันภัยไม่ได้ทําสัญญา ดังกล่าวความรับผิดนั้นจะไม่เกิดขึ้น เช่น การรับผิดด้วยความสงสาร เป็นต้น

4. ความรับผิดในความเสียหายต่อทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้
– ความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัยเอง
– ความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่นที่ผู้เอาประกันภัยหรือลูกจ้างของผู้เอาประกันภัย ครอบครองหรือเช่าอยู่หรือกําลังใช้อยู่
– ความเสียหายต่อทรัพย์สินที่อยู่ในการครอบครอง ดูแลหรือควบคุมโดยผู้เอาประกันภัยหรือ ลูกจ้าง หรือตัวแทนของผู้เอาประกันภัย ทรัพย์สินที่อยู่ในการครอบครอง ดูแล และควบคุมของผู้เอาประกันภัยนี้ถือเสมือนเป็นทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัยเอง
– ความเสียหายต่อตัวผลิตภัณฑ์ ซึ่งอาจเกิดจากการชำรุดของส่วนใดส่วนหนึ่ง ของตัวผลิตภัณฑ์นั่นเอง (การประกันภัยค้ำประกันผลิตภัณฑ์จะให้ความคุ้มครองความเสียหายดังกล่าว)
– ความเสียหายต่องานที่ได้ทำไปแล้ว ซึ่งทำโดยหรือทำในนามของผู้เอาประกันภัย
– ความเสียหายที่เกิดแก่สถานที่หรืออาคารที่ผู้เอาประกันภัยได้จำหน่ายขาย หรือโอนให้บุคคลอื่นไปแล้ว
– ความรับผิดอันเนื่องมาจากยวดยานพาหนะที่เดินด้วยเครื่องยนต์
– ความรับผิดเนื่องจากภัยที่ให้ผลหายนะอย่างใหญ่หลวง ได้แก่…
1.ภัยสงคราม ภัยเนื่องจากพลังงานนิวเคลียร์ เป็นต้น และ
2.ความรับผิดเนื่องจากมลภาวะ (POLLUTION)
3.การบาดเจ็บเสียหายส่วนบุคคล (Personal Injury)

การประกันภัยความรับผิดต่อสาธารณะ
– ให้ความคุ้มครองต่อการเสียชีวิต และความบาดเจ็บทางร่างกายของบุคคลภายนอก
– ผู้เอาประกันภัยอาจขอให้บริษัทขยายการคุ้มครอง รวมถึงการเสียหายต่อสิทธิส่วนตัวอย่างอื่นด้วย ซึ่งเรียกว่า “การบาดเจ็บเสียหายส่วนบุคคล” (Personal Injury) ซึ่งหมายถึง ความรับผิดอันเนื่องจากการบาดเจ็บทางร่างกาย และความรับผิดเนื่องจากเหตุอื่น ๆ ด้วย เช่น จากการหมิ่นประมาท ไม่ว่าจะกระทำโดยวาจา หรือโดยลายลักษณ์อักษร การทำให้ผู้อื่นสูญเสียอิสรภาพ หรือสิทธิส่วนบุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับร่างกายโดยตรง

ประโยชน์ของการประกันภัยความรับผิดต่อสาธารณะ

สำหรับเจ้าของอาคาร
ได้รับการบรรเทาความเสียหายด้านการเงิน หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้น และส่งผลให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายทั้งต่อร่างกายและทรัพย์สิน โดยความเสียหายนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าของอาคาร เจ้าของอาคารก็จะได้รับการชดใช้จากบริษัทประกันภัย

สำหรับผู้เสียหาย
ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายเป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อน ทางด้านการเงินของผู้ประสบภัยและ/หรือทายาทของผู้ประสบภัย

สำหรับสังคมโดยรวม
การประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอกเป็นการให้ความคุ้มครอง ทางการเงินของบุคคลหรือนิติบุคคลจากการทำละเมิดต่อบุคคลภายนอก ดังนั้นการประกันภัยดังกล่าวนี้ จึงถือเป็นหลักประกันที่ดีต่อสังคม ซึ่งจะยังประโยชน์ต่อความสงบเรียบร้อยของประเทศ

สำหรับต่อเศรษฐกิจ
ทำให้การดำเนินการทางธุรกิจดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและมีความมั่นคง เนื่องจากผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจได้โอนความเสี่ยงภัยไปให้กับบริษัทประกันภัย เมื่อเกิดความรับผิดต่อบุคคลภายนอกขึ้น บริษัทประกันภัยจะเข้ามารับชดใช้ ทำให้ธุรกิจไม่ต้องหยุดชะงักลง ก่อให้เกิดผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow