INSURANCETHAI.NET
Fri 29/03/2024 4:44:59
Home » ประกันภัย(ประกันวินาศภัย) » ขั้นตอนในการจัดการความเสี่ยงภัย\"you

ขั้นตอนในการจัดการความเสี่ยงภัย

2012/03/22 1957👁️‍🗨️

ขั้นตอนในการจัดการความเสี่ยงภัย

ขั้นตอนในการจัดการความเสี่ยงภัย โดยทั่วไปประกอบด้วย
1. การวิเคราะห์ภัยที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย (IDENTIFY AND ANALYZE RISK WHICH MAY LEAD TO ACCIDENTAL LOSSES)
2. การหาวิธีในการจัดการกับความเสี่ยงภัย (FORMULATE FEASIBLE RISK MANAGEMENT ALTERNATIVES FOR DEALING WITH THESE RISK)
3. การคัดเลือกวิธีการที่ดีที่สุด (SELECT THE APPARENTLY BEST ALTERNATIVE TECHNIQUE OR COMBINATION OF TECHNIQUES)
4. การปฏิบัติตามแผนหรือวิธีการที่ได้เลือกไว้ (IMPLEMENT THE CHOSEN TECHNIQUE )
5. ตรวจสอบและเปลี่ยนแปลงวิธีการให้เหมาะสมกับภัยที่เปลี่ยนแปลงไป (MONITOR THE RESULTS AND MODIFY THE CHOSEN TECHNIQUE TO ADAPT TO CHANGES IN LOSS EXPOSURES OR TO TOLERABLE CHANGES IN THE LEVEL OF LOSSES)

1. การวิเคราะห์ภัยที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย (IDENTIFY AND ANALYZE RISK WHICH MAY LEAD TO ACCIDENTAL LOSSES)

กระทำได้ด้วยการศึกษา และพิจารณาว่ามีความเสี่ยงภัยใดที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ เช่น ความเสียหายต่อทรัพย์สิน ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากอัคคีภัย ฟ้าผ่า ฯลฯ ความสูญเสียจากากรที่ธุรกิจหยุดชะงัก ความรับผิดตามกฎหมายต่อชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
บุคคลในวัยและอาชีพที่ต่างกัน ย่อมมีการเสี่ยงภัยที่แตกต่างกัน เช่น นักศึกษามีความเสี่ยงภัยที่จะถูกรถชนในขณะเดินบนท้องถนน แต่เจ้าของโรงงานมีความเสี่ยงภัยต่อการที่โรงงานของเขาจะเสียหายโดยอัคคีภัย ฯลฯ ซึ่งต้องวิเคราะห์ว่าผู้ใดมีการเสี่ยงภัยประเภทใดเป็นรายๆ ไป

2. การหาวิธีในการจัดการกับความเสี่ยงภัย (FORMULATE FEASIBLE RISK MANAGEMENT ALTERNATIVES FOR DEALING WITH THESE RISK)
วิธีการต่างๆ ในการจัดการความเสี่ยงภัยของบุคคลหรือธุรกิจโดยทั่วไปแบ่งออกได้เป็น
2.1 การหลีกเลี่ยงความเสี่ยงภัย (RISK AVOIDANCE)
การหลีกเลี่ยงความเสี่ยงภัย สามารถทำได้โดยการพยายามหลีกเลี่ยงงานหรือ สาเหตุที่อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น เช่น คนที่กลัวจะเสียชีวิตเพราะเครื่องบินตก ก็ตัดสินใจไม่นั่งเครื่องบินเลยตลอดชีวิต หรือเราอาจจะหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุจากการนั่งสองแถวได้โดยการเปลี่ยนไปขึ้นรถ ประจำทางหรือรถแท็กซี่แทน
2.2 การลดความเสี่ยงภัย (RISK REDUCTION)
เราอาจจะลดความเสี่ยงภัยที่อาจจะเกิดขึ้น โดยลดจำนวนครั้ง (FREQUENCY) หรือลดความรุนแรง (SEVERITY) ซึ่งโดยทั่วไปจะกระทำได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
2.2.1 การป้องกันการเกิดความเสียหาย (LOSS PREVENTION) มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายขึ้น การป้องกันเช่นนี้ จะกระทำก่อนที่จะมีความเสียหายเกิดขึ้น เช่น การติดป้ายห้ามสูบบุหรี่ในบริเวณโรงงาน การตรวจ สภาพรถยนต์ให้อยู่ในสภาพปลอดภัยอยู่เสมอการขับรถตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด
2.2.2 การควบคุมความเสียหาย (LOSS CONTROL) มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุม ความรุนแรงของความเสียหายที่เกิดขึ้น การควบคุมความเสียหายนี้จะกระทำในขณะหรือภายหลังจากทึ่มีความเสียหายเกิด ขึ้น เช่น การที่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงทำการดับเพลิงที่เกิดขึ้นอย่างทันท่วงที การติดตั้งเครื่องพ่นน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ (AUTOMATIC SPRINKLER SYSTEM)
2.2.3 การแยกทรัพย์สิน (SEPARATION) เช่น การตั้งโรงงานและโกดังไว้คนละสถานที่ เมื่อเกิดเพลิงไหม้ขึ้นที่หนึ่งที่ใด โอกาสที่เพลิงนั้นจะลามไปอีกที่หนึ่ง จะเป็นไปได้ยาก ทำให้ลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
2.3 การรับเสี่ยงภัยไว้เอง (RISK RETENTION)
คือ การรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากภัยไว้เอง ในบางกรณีเราอาจแบกรับความเสี่ยงไว้เอง โดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม และอาจจะรับไว้ทั้งหมด หรือบางส่วนก็ได้ ภัยมางอย่างอาจเล็กมากจนไม่จำเป็นต้องหาวิธีการจัดการกับความเสี่ยงภัยเช่น ปากกา ดินสอ ซึ่งมีราคาไม่แพงเจ้าของก็ไม่สนใจว่า ทรัพย์สินดังกล่าวจะเสี่ยงต่อการแตกหัก หรือถูกหยิบฉวย ใป การที่ผู้เอาประกันรถยนต์เอาประกันภัยรถยนต์แบบมีความรับผิดต่อความเสียหาย ส่วนแรกไม่เกิน 1,000 บาท สำหรับ ความเสียหายแต่ละครั้งนี้ ก็ถือว่า ความรับผิดต่อความเสียหายส่วนแรกDEDUCTIBLE นี้เป็นการรับภาระเสี่ยงภัยใว้เองบางส่วนเช่นกัน
2.4 การโอนความเสี่ยงภัย ( RISK TRANSFER )
เป็นวิธีการจัดการความเสี่ยงภัยที่ได้รับความนิยมมากที่สุดวิธีหนึ่ง ด้วยการโอนความเสี่ยงภัยที่เกี่ยวกับความเสียหายทางการเงิน และความรับผิดต่างๆ ไปให้บุคคลอื่นรับภาระแทนซึ่งกระทำได้ 2 วิธี คือ
2.4.1 ความเสี่ยงภัยไปให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่การประกันภัย (NON-INSURANCE TRANSFER ) หมายถึงการโอนความเสี่ยงภัยไปให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่บริษัทประกันภัยโดยสัญญา ซึ่งในสัญญาบางประเภทคู่สัญญาได้รับโอนความเสี่ยงภัยในการปฏิบัติตามสัญญา นั้นไปด้วย เช่น การจ้างบริษัทอื่นทำความสะอาดภายนอกอาคารสูงๆ
2.4.2 การโอนความเสี่ยงภัยในรูปของการประกันภัย ( INSURANCE TRANSFER) โดยวิธีนี้บุคคลที่มีความเสี่ยงภัยประเภทต่าง ๆ จะโอนความเสี่ยงภัย และความเสียหายทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นไปให้บริษัทประกันภัยในรูปของการเอา ประกันภัยไว้กับบริษัทประกันภัย ในรูปของสัญญาประกันภัย ซึ่งบริษัทประกันภัยสัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ผู้เอาประกัน ภัยสำหรับความเสียหายที่ได้รับการคุ้มครองตามสัญญา การประกันภัยนั้น

3. การคัดเลือกวิธีการที่ดีที่สุด (SELECT THE APPARENTLY BEST ALTERNATIVE TECHNIQUE OR COMBINATION OF TECHNIQUES)
ภายหลังจากที่บุคคลหรือธุรกิจนั้นได้ค้นหาวิธีการจัดการความเสี่ยงภัยวิธี ต่างๆ ที่คิดว่าเป็นไปได้แล้ว ในขั้นนี้ก็จะต้องศึกษาถึงโอกาสและความมรุนแรงของ ความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นและตัดสินใจเลือกวิธีการจัดการความเสี่ยงภัย วิธีหนึ่งวิธีใด หรือหลายวิธีที่คิดว่าดีที่สุดร่วมกัน โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อฐานะการเงินของบุคคลหรือธุรกิจนั้นประกอบด้วย เช่น หากความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมีบ่อยครั้งและรุนแรงมาก บุคคลหรือธุรกิจก็อาจจะต้องหลีกเลี่ยงกิจการหรืองานนั้น ๆ เสีย ถ้าหากว่ามีความรุนแรงมาก แต่มีโอกาสที่จะเกิดนานๆ สักครั้ง อาจจะใช้การโอนความเสี่ยงภัยไปให้บริษัทประกันภัยในรูปของการเอาประกันภัย ควบคู่ไปกับการควบคุมความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย

4. การปฏิบัติตามแผนหรือวิธีการที่ได้เลือกไว้ (IMPLEMENT THE CHOSEN TECHNIQUE )
หลังจากที่ได้เลือกวิธีการจัดการความเสี่ยงภัยได้แล้ว ขั้นต่อไป จะต้องศึกษาถึงแนวทางปฏิบัติตามวิธีการเพื่อให้บรรลุผลตามแผนของการจัดการ ความเสี่ยงภัยที่ได้ตัดสินใจเลือกไว้แล้ว เช่น หากธุรกิจตัดสินใจที่จะรับเสี่ยงภัยไว้เอง ก็จะต้องมีมาตรการควบคุมความเสียหาย โดยการติดตั้งเครื่องพ่นน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ (Automatic Sprinkler System) แล้ว ก็จะต้องศึกษารายละเอียดว่าจะต้องติดตั้งที่ใด และทิ้งระยะห่างเท่าใด ควรจะใช้หัวฉีดแบบใดจึงจะเหมาะสมสำหรับบริเวณนั้นที่สุด หรือ ในกรณีที่เลือกวิธีโอนความเสี่ยงภัยไปให้บริษัทประกันภัยก็จะต้องศึกษาถึง เงื่อนไข ข้อคุ้มครอง ในกรมธรรม์ประกันภัย ให้ตรงกับความเสี่ยงภัยที่ตนมีอยู่

5. ตรวจสอบและเปลี่ยนแปลงวิธีการให้เหมาะสมกับภัยที่เปลี่ยนแปลงไป (MONITOR THE RESULTS AND MODIFY THE CHOSEN TECHNIQUE TO ADAPT TO CHANGES IN LOSS EXPOSURES OR TO TOLERABLE CHANGES IN THE LEVEL OF LOSSES)
การจัดการความเสี่ยงภัยที่ได้ผลดีที่สุด จะต้องมีการติดตามประเมินผลการจัดการนั้นเป็นระยะๆ เพื่อตรวจสอบ และวิเคราะห์ผลการปฏิบัติตามข้อ 4 ว่าเป็นไปตามแผน หรือวิธีการที่ปฏิบัติไปแล้วหรือไม่ หากมีข้อที่ควรจะต้องแก้ไข ปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เช่น ธุรกิจมีการขยายกิจการ มีการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานทำให้ความเสี่ยงภัยบางอย่างเพิ่มขึ้น หรือลดลง จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดการความเสี่ยงภัยให้เหมาะสมกับภัยที่ เปลี่ยนแปลงไปด้วย





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow