INSURANCETHAI.NET
Tue 16/04/2024 19:52:48
Home » ประกันภัย(ประกันวินาศภัย) » ประเภทของความเสี่ยงภัย\"you

ประเภทของความเสี่ยงภัย

2012/03/22 7065👁️‍🗨️

ประเภทของความเสี่ยงภัย
ความเสี่ยงภัยสามารถจำแนกออกเป็น 4 ประเภท คือ
1. ความเสี่ยงภัยแท้จริงและความเสี่ยงภัยที่มุ่งเก็งกำไร (PURE RISK & SPECULATIVE RISK)
2. ความเสี่ยงภัยต่อส่วนรวม และความเสี่ยงภัยจำเพาะ (FUNDAMENTAL RISK & PARTICULAR RISK)
3. ความเสี่ยงภัยที่ผันแปรได้ และความเสี่ยงภัยที่คงที่ (DYNAMIC RISK & STATIC RISK)
4. ความเสี่ยงภัยที่เอาประกันภัยได้ และความเสี่ยงภัยที่เอาประกันภัยไม่ได้ (INSURABLE RISK & UNINSURABLE RISK)

1. ความเสี่ยงภัยแท้จริงและความเสี่ยงภัยที่มุ่งเก็งกำไร (PURE RISK & SPECULATIVE RISK)
1.1 ความเสี่ยงภัยที่แท้จริง
เป็นความเสี่ยงภัยที่มีโอกาสที่อาจจะเกิดความเสียหาย หรือไม่เกิดความเสียหายขึ้นถ้าไม่มีสาเหตุนั้นเกิดขึ้น (LOSS OR NO LOSS) เช่น
– ความเสี่ยงภัยที่เกิดกับบ้าน มีหลายประการ เช่น อัคคีภัย, ฟ้าผ่า, แผ่นดินไหว, ลมพายุ, น้ำท่วม, และภัยธรรมชาติอื่นๆ ถ้าหากมีสาเหตุหนึ่งสาเหตุใดที่กล่าวมานี้บ้านทั้งหลังอาจจะพังหรือได้รับ ความเสียหายได้ แต่ถ้าหากไม่มีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น บ้านหลังนั้นก็จะยังคงอยู่ในสภาพเดิม โดยที่เจ้าของบ้านไม่ประสบความสูญเสียทางการเงินหรือได้รับกำไรจากการที่ไม่ มีเหตุการณ์เกิดขึ้น
– ผู้ที่เดินทางโดยรถโดยสารประจำทางมีความเสี่ยงภัยต่อการที่อาจประสบ อุบัติเหตุเพราะการห้อยโหนรถโดยสารประจำทางนั้น เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น บุคคลนั้นอาจได้รับบาดเจ็บต้องเสียค่ารักษาพยาบาล แต่ถ้าหากไม่มีอุบัติเหตุใดๆ เกิดขึ้น เขาก็จะเดินทางถึงที่หมายโดยสวัสดิภาพ
ตัวอย่างข้างต้น ถ้าเจ้าของบ้าน หรือบุคคลที่โดยสารรถประจำทางได้เอาประกันภัยนั้น ๆ ไว้ เขาก็จะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายจากบริษัทประกันภัย ไม่เกินความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง โดยไม่มีส่วนที่เป็นกำไรจากการประกันภัยนั้น
1.2. ความเสี่ยงภัยที่มุ่งเก็งกำไร (SPECULATIVE RISK)
เป็นความเสี่ยงภัยที่มีโอกาสขาดทุน, คุ้มทุน, หรือได้กำไร (LOSS, BREAK EVEN OR GAIN) เช่น
– ผู้เล่นการพนัน อาจจะประสบกับการขาดทุนเพราะแพ้พนัน เสมอตัว หรือได้กำไรจากการเล่นการพนัน
– ผู้ที่ลงทุนในธุรกิจ อาจประสบกับภาวะขาดทุน, คุ้มทุน, หรือได้กำไรหากการลงทุนนั้นประสบผลสำเร็จ
บริษัท ประกันภัยโดยทั่วไป จะรับประกันภัยเฉพาะความเสี่ยงภัยแท้จริง ( pure risk ) เท่านั้น และโดยปกติไม่สามารถรับประกันความเสี่ยงภัยที่มุ่งเก็งกำไรได้ (SPECULATIVE RISK)

2. ความเสี่ยงภัยต่อส่วนรวม และความเสี่ยงภัยจำเพาะ (FUNDAMENTAL RISK & PARTICULAR RISK)
2.1 ความเสี่ยงภัยต่อส่วนรวม ( FUNDAMENTAL RISK )
เป็นความเสี่ยงภัยที่มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจพื้นฐานโดยส่วนรวม หรือต่อคนจำนวนมาก หรือกลุ่มคนจำนวนมาก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในทางเศรษฐกิจ, สังคม,การเมือง หรือผลกระทบจากภัยธรรมชาติ เช่น ภาวะเงินเฟ้อ, ภาวะเงินฝืด, การว่างงาน, สงคราม, แผ่นดินไหว, อุทกภัย ฯลฯ ซึ่งไม่มีผู้ใดสามารถควบคุมมิให้เกิดขึ้นได้
2.2 ความเสี่ยงภัยจำเพาะ (PARTICULAR RISK )
เป็นความเสี่ยงภัย ที่มีผลกระทบและก่อให้เกิดความเสียหาย จำเพาะเจาะจงต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น และบุคคลเหล่านั้น สามารถควบคุมการเกิดภัยดังกล่าวได้ เช่น การเกิดเหตุรถชนกัน ไฟไหม้บ้าน เป็นต้น
ความเสี่ยงภัยจำเพาะนี้ เป็นความเสี่ยงที่เหมาะสำหรับธุรกิจประกันภัย ในขณะที่การเสี่ยงภัยต่อส่วนรวมควรเป็นภาระหน้าที่ของรัฐ โดยปกติบริษัทประกันภัยจะสามารถรับประกันภัยการเสี่ยงภัยต่อส่วนรวมได้ในขอบ เขตอันจำกัดเท่านั้น

3. ความเสี่ยงภัยที่ผันแปรได้ และความเสี่ยงภัยที่คงที่ (DYNAMIC RISK & STATIC RISK)
3.1 ความเสี่ยงภัยที่ผันแปรได้ (DYNAMIC RISK)
คือ ความเสี่ยงภัยที่อาจเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพเศรษฐกิจ แล้วก่อให้เกิดความเสียหายในทางการเงินแก่เจ้าของทรัพย์สิน เช่น การเปลี่ยนแปลงในรสนิยมของผู้บริโภค ทำให้พ่อค้าบางรายประสบภาวะขาดทุนเพราะผลิตสินค้าออกมาแล้วจำหน่ายไม่ได้ การเปลี่ยนแปลงในระดับราคาสินค้า ซึ่งเมื่อราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นมากผู้บริโภคอาจจะไม่บริโภคสินค้าประเภท นั้น ความเจริญก้าวหน้าในเทคโนโลยี ทำให้ผู้ผลิตบางรายสามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพคีขึ้น และมีราคาถูกลง ทำให้ผู้ผลิตอื่นๆ ซึ่งผลิตสินค้าชนิดเดียวกัน แต่มีคุณภาพต่ำกว่าหรือราคาแพงกว่า ประสบกับปัญหาในการจำหน่ายสินค้านั้น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าขายไม่ได้ เป็นต้น
3.2.ควานเสี่ยงภัยที่คงที่ (STATIC RISK)
คือ ความเสี่ยงภัยที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ ที่ไม่ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงในทางเศรษฐกิจ เช่น ภัยธรรมชาติต่างๆ ความไม่ซื่อสัตย์ของพนักงาน เป็นต้น

4. ความเสี่ยงภัยที่เอาประกันภัยได้ และความเสี่ยงภัยที่เอาประกันภัยไม่ได้ (INSURABLE RISK & UNINSURABLE RISK)
4.1 ความเสี่ยงภัยที่เอาประกันได้ (INSURABLE RISK)
คือ ความเสี่ยงภัยที่มีลักษณะเป็นความเสี่ยงภัยแท้จริง (PURE RISK) เหมาะสมที่จะเอาประกันภัยได้ และเป็นความเสี่ยงภัยที่มีผลกระทบเฉพาะบุคคล (PARTICULAR RISK) เท่านั้น เช่น กรณีที่ไฟไหมบ้านหนึ่งหลัง หรือหลายหลังในละแวกเดียวกัน
โดยหลักการแล้ว ความเสี่ยงภัยที่จะเอาประกันภัยได้ จะต้องมีลักษณะสำคัญหลายประการ จึงจะเกิดความเหมาะสมถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่จะเอาประกันภัยได้ ซึ่งจะได้กล่าวโดยละเอียดต่อไปในบทที่ 3
4.2 ความเสี่ยงภัยที่เอาประกันไม่ได้ (UNINSURABLE RISK)
ในการรับประกันภัยนั้น ผู้รับประกันภัยจะไม่สามารถรับประกันความเสี่ยงภัยได้ทุกประเภท เนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้คือ
– การขาดสถิติ การประกันภัยต้องอาศัยสถิติ ซึ่งรวบรวมจากประสบการณ์ในอดีตเป็นหลักในการพิจารณาการกระจายความเสี่ยงภัย ฉะนั้น ความเสี่ยงภัยที่ไม่อาจคำนวณจากข้อมูลในทางสถิติ จึงไม่สามารถเอาประกันภัยได้ เช่น ผู้ขายปลีกสินค้าเกี่ยวกับแฟชั่น ไม่อาจเอาประกันภัยต่อความเสียหายอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแฟชั่นโดย กะทันหันได้
– ความเสี่ยงภัยที่ขัดต่อกฎหมาย หรือผลประโยชน์ของสาธารณชน เช่น ผู้ขับขี่ยานพาหนะไม่สามารถเอาประกันภัยคุ้มครองการเสียค่าปรับเมื่อกระทำ ผิดกฎจราจร หรือคนทุจริต ไม่สามารถเอาประกันภัยการกระทำผิดของตนได้
– การไม่มีส่วนได้เสียที่จะเอาประกันได้ (INSURABLE INTEREST) ถ้าผู้เอาประกันภัยไม่มีส่วนได้เสีย ในวัตถุที่เอาประกันภัย เขาจะไม่ได้รับความเสียหายจากการเกิดวินาศภัยนั้น แต่อย่างใด ฉะนั้นเขาจึงไม่สามารถเอาประกันภัยในสิ่งที่เขาไม่มีส่วนได้เสียได้ ซึ่งจะได้กล่าวโดยละเอียดในบทที่ 6
– ความเสี่ยงภัยที่เป็นมหันตภัย (CATASTROPHIC RISK) ในทางทฤษฎี เราอาจกำหนดเบึ้ยประกันขึ้นได้เสมอไม่ว่าความเสี่ยงภัยนั้นจะมากเพียงใด แต่ในทางปฏิบัตินั้นความเสี่ยงภัยที่เป็นมหันตภัย ถือว่าเป็นความเสี่ยงภัยที่ไม่อาจเอาประกันภัยได้ เช่น ภัยสงครามในบางกรณี

ความหมายของความเสี่ยงภัยในทางปฏิบัตินั้นมีได้ 3 ประการ คือ
1. วัตถุที่เอาประกันภัย (SUBJECT MATTER OF INSURANCE) เช่น บ้าน, รถยนต์, หรือชีวิตของคน ฯลฯ
2. ภัย ( PERIL ) ต่าง ๆ เช่น ไฟไหม้, การระเบิด, การโจรกรรม, การกระทำของคนบ้า, จลาจล ฯลฯ
3. สภาวะที่ทำให้ทรัพย์สินหรือวัตถุนั้น มีความเสี่ยงภัยที่เกิดขึ้น หรือลดลง ( HAZARD ) เช่น บ้านที่สร้างด้วยไม้ทั้งหลังเป็น RISK ที่ไม่ดี, คนอ้วนมากเป็น RISK ที่ไม่ค่อยดีเมื่อเทียบกับคนที่มีร่างกายสมส่วน ฯลฯ
ในการพิจารณารับประกันภัยนั้น ผู้รับประกันภัยจะต้องพิจารณาว่า วัตถุที่เอาประกันภัยนั้น (SUBJECT MATTER OF INSURANCE) เป็นปัจจัยในการเสี่ยงภัยเพียงใดหรือ ภัย (PERIL) ที่จะให้ความคุ้มครองนั้นเป็นภัยที่สามารถรับเสี่ยงได้หรือไม่ นอกจานั้น สภาวะที่ทำให้วัตถุที่เอาประกันภัยมีความเสี่ยงภัยเพิ่มขึ้น (HAZARD) อยู่ในสภาวะที่เขาควบคุมได้หรือไม่ สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นความเสี่ยงภัยที่ผู้รับประกันภัยจะต้องพิจารณาในการ รับประกันภัยทุกครั้ง





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow