INSURANCETHAI.NET
Thu 28/03/2024 19:50:43
Home » อัพเดทประกันภัย » การต่อภาษีรถยนต์\"you

การต่อภาษีรถยนต์

2012/08/10 2369👁️‍🗨️


ยื่นล่วงหน้า
ก่อนวันครบกำหนดเสียภาษีได้ไม่เกิน 3 เดือน
และเจ้าของรถสามารถยื่นเสียภาษีได้ ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้

ไม่ว่าจะจดทะเบียนรถยนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร หรือ ต่างจังหวัด
1. สำนักทะเบียนและภาษีรถ หรือสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ได้ทุกแห่งในประเทศไทยเพราะ ออนไลน์เเล้ว
2. ทางเว็บไซต์ ต่ออายุแบบออนไลน์ ยกเว้นรถที่มีอายุ 8ปีขึ้นไป ไม่สามารถใช้วิธีนี้ได้ เพราะต้องตรวจสภาพรถยนต์ก่อน ราคาค่าตรวจโดยทั่วไป 200 บาท

3. ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขทั่วประเทศ

การเสียภาษีรถทั่วไทยได้ทุกสำนักงาน (ไม่ว่ารถนั้นจะจดทะเบียนที่จังหวัดใดก็ตาม)
ประเภทรถที่รับเสียภาษี

๑. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน (รย.๑)
๒. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน (รย.๒)
๓. รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.๓)
๔. รถจักรยานยนต์ (รย.๑๒)
๕. รถแทรกเตอร์ (รย.๑๓)
๖. รถบดถนน (รย.๑๔)
๗. รถพ่วง (รย.๑๖)


หลักฐานที่ใช้

๑. ใบคู่มือจดทะเบียนรถ (ถ้ามี)
๒. หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ยังไม่สิ้นอายุ
๓. ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ ๗ ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ ๕ ปีขึ้นไป)

การเสียภาษี ณ ที่ทำการไปรษณีย์

ประเภทรถที่รับเสียภาษี

๑. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน (รย.๑)
๒. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน (รย.๒)
๓. รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.๓)
๔. รถจักรยานยนต์ (รย.๑๒)
๕. รถแทรกเตอร์ (รย.๑๓)
๖. รถบดถนน (รย.๑๔)
๗. รถพ่วง (รย.๑๖)

หลักฐานที่ใช้

๑. ใบคู่มือจดทะเบียนรถ
๒. หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ยังไม่สิ้นอายุ
๓. ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ ๗ ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ ๕ ปีขึ้นไป)


เงื่อนไข

  • เป็นรถที่ไม่มีภาษีค้างชำระหรือมีภาษีค้างชำระไม่เกิน ๑ ปี หรือเป็นรถที่มีภาษีค้างชำระเกิน ๑ ปี ที่นายทะเบียนได้ประกาศยกเว้นการตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี
  • ยื่นขอเสียภาษีประจำปีล่วงหน้าได้ไม่เกิน ๓ เดือน ก่อนวันครบกำหนดเสียภาษี เว้นแต่รถที่มีภาษีค้างชำระให้ยื่นได้ทันที

การเสียภาษี ณ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)


ประเภทรถที่รับเสียภาษี

๑. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน (รย.๑)
๒. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน (รย.๒)
๓. รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.๓)
๔. รถจักรยานยนต์ (รย.๑๒)


หลักฐานที่ใช้

๑. ใบคู่มือจดทะเบียนรถ
๒. หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ยังไม่สิ้นอายุ
๓. ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ ๗ ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ ๕ ปีขึ้นไป)


เงื่อนไข

  • เป็นรถที่ไม่มีภาษีค้างชำระหรือมีภาษีค้างชำระไม่เกิน ๑ ปี หรือมีภาษีค้างชำระเกิน ๑ ปี ที่นายทะเบียนได้ประกาศยกเว้นการตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี
  • ยื่นขอเสียภาษีประจำปีล่วงหน้าได้ไม่เกิน ๓ เดือน ก่อนวันครบกำหนดเสียภาษี เว้นแต่รถที่มีภาษีค้างชำระให้ยื่นได้ทันที

การเสียภาษี ณ ห้างสรรพสินค้า ( Shop Thru for Tax )


สถานที่:
ห้างบิ๊กซี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน ๑๓ สาขา ได้แก่

  • ลาดพร้าว  รามอินทรา  รัชดาภิเษก  บางปะกอก  เพชรเกษม  สุขาภิบาล๓
  • อ่อนนุช  แจ้งวัฒนะ  สำโรง  บางบอน  สุวินทวงศ์  ศรีนครินทร์
  • บางใหญ่

วัน เวลาให้บริการ

  • เปิดให้บริการทุกวันเสาร์ – อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๘.๐๐ น.


ประเภทรถที่รับเสียภาษี

๑. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน (รย.๑) รถเก๋ง
๒. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน แต่ไม่เกิน ๑๒ คน (รย.๒) รถตู้ และรถสองแถว
๓. รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.๓) รถปิคอัพ
๔. รถจักรยานยนต์ (รย.๑๒)


หลักฐานที่ใช้

๑. ใบคู่มือจดทะเบียนรถหรือสำเนา (ถ้ามี)
๒. หลักฐานการจัดให้มีประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ยังไม่สิ้นอายุ
๓. หนังสือรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ ๗ ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ ๕ ปีขึ้นไป)
๔. หนังสือรับรองการตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ และการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อ เพลิงตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์

บริการรับชำระภาษีแบบ เลื่อนล้อต่อภาษี ( Drive Thru for Tax)


สถานที่

  • บริเวณหน้าอาคาร ๓ ภายในกรมการขนส่งทางบก
  • สำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่น สุราษฎร์ธานี และนนทบุรี


วัน เวลาให้บริการ

  • เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา ๐๗.๓๐ – ๑๕.๓๐ น.

ประเภทรถที่รับเสียภาษี

รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน  (รย.1)
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน  (รย.2)
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล  (รย.3)
รถจักรยานยนต์  (รย.12)

หลักฐานที่ใช้

๑. ใบคู่มือจดทะเบียนรถ (ถ้ามี)
๒. หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ยังไม่สิ้นอายุ
๓. ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ ๗ ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ ๕ ปีขึ้นไป)

บริการรับชำระภาษีแบบ เลื่อนล้อต่อภาษี ( Drive Thru for Tax)

สถานที่

  • ร้านค้าที่มีสัญลักษณ์เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ


ประเภทรถที่รับเสียภาษี

๑. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน (รย.๑)
๒. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน (รย.๒)
๓. รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.๓)
๔. รถจักรยานยนต์ (รย.๑๒)
เงื่อนไขการให้บริการรับชำระ

๑. รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน ๗ ปี
๒. รถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน ๕ ปี
๓. ทางกรมการขนส่งทางบกจะทำการนำส่งใบเสร็จ และป้ายวงกลมทางไปรษณีย์ ตามที่อยู่ที่ท่านระบุภายใจ ๑๐ วันนับจากวันที่ชำระเงิน
๔. ค่าบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส ๒๐ บาท และค่าจัดส่งป้ายวงกลม ๔๐ บาท
๕. รถที่มียอดค้างชำระเกินกำหนด ๓ ปี ชำระได้ที่กรมการขนส่งทางบกเท่านั้น

ในบาง ครั้งจะพบว่า ไม่ต้องตรวจจริงเพียงเเค่จ่ายเงินไป เขาก็จะออกใบตรวจให้ก็มี เพราะไม่มีใครรู้ หรืออาจตรวจไม่ครบตามหลักเกณฑ์ หรือ แค่ดูสภาพรถก็คร่าวๆ แต่หากมองในแง่ดีประหยัดเวลา ของเจ้าของรถ และค่าใช้จ่ายการตรวจของสถานที่ที่เราไปตรวจ แต่ข้อเสียก็คือ อาจทำให้รถยนต์ที่สภาพไม่ผ่านเกณฑ์หลุดรอดไป ซึ่งเป็นอันตรายมาก ต่อตนเองและคนรอบข้าง

สำหรับกรณี ที่ต้องใช้เอกสารเพิ่มเติม

– กรณีมีการแจ้งเปลี่ยนสี, เปลี่ยนเครื่อง ต้องมีใบเสร็จมาประกอบการแก้ไข และต้องนำรถมาตรวจสภาพด้วย
– รถติดตั้งก๊าซ LPG, NGV ใช้ใบรับรอบการตรสจ และทดสอบการติดตั้งส่วนควบ และอุปกรณ์สำหรับรถที่ใช้ก๊าซ ต้องนำรถมาตรวจสภาพด้วย
– ถ้าในเล่มทะเบียนบันทึกติดตั้งก๊าซ NGV แล้ว การต่อภาษีประจำปี ต้องมีใบรับรองวิศวกรประกอบการต่อภาษีด้วย
– รถที่ค้างชำระภาษีประจำปีติดต่อกันครบ 3 ปี ให้นำแผ่นป้ายทะเบียนมาคืน และนำรถมาตรวจสถาพตอนจดทะเบียนใหม่

เงื่อนไข

1. เป็นรถที่ไม่มีภาษีค้างชำระหรือมีภาษีค้างชำระไม่เกิน 1 ปี หรือมีภาษีค้างชำระเกิน 1 ปี ที่นายทะเบียนได้ประกาศยกเว้นการตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี
2. ยื่นขอเสียภาษีประจำปีล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน ก่อนวันครบกำหนดเสียภาษี เว้นแต่รถที่มีภาษีค้างชำระให้ยื่นได้ทันที

ขั้นตอนการดำเนินการ

1. ยื่นคำขอพร้อมหลักฐาน
2. ชำระค่าภาษี และรับใบเสร็จรับเงิน เครื่องหมายแสดงการเสียภาษี และใบคู่มือจดทะเบียนรถ

ในปี 2553 กรมฯ จัดเก็บภาษีรถทุกประเภททั่วประเทศได้ทั้งสิ้น 18,195,195,789 บาท แบ่งเป็น
รถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ได้แก่
รถจักรยานยนต์ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล จำนวน 15,435,844,054.13 บาท และ
รถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ได้แก่
รถบรรทุกส่วนบุคคล รถบรรทุกไม่ประจำทาง รถโดยสารประจำทาง และรถโดยสารไม่ประจำทาง จำนวน 2,759,351,734.90 บาท

โดยมีเจ้าของรถที่มาติดต่อชำระภาษีเอง จำนวน 20,833,214 คัน หรือ ประมาณ 73.14% จากรถที่จดทะเบียนอยู่ทั่วประเทศ จำนวน 28,484,829 คันเท่านั้นส่วนที่ไม่มาติดต่อชำระภาษีรถเกือบ 8 ล้านคัน คิดเป็นภาษีค้างชำระประมาณ 4,000 ล้านบาท ซึ่งก็ถือว่ามากโขทีเดียว

ทำไมถึงมากมายขนาดนั้น
การที่เจ้าของรถไม่มาติดต่อชำระภาษีรถอาจเกิดขึ้นได้หลายกรณี เช่น รถชำรุดหรือสูญหาย แล้วเจ้าของรถไม่ได้มาติดต่อขอแจ้งหยุดใช้รถต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานขนส่งที่รถจดทะเบียนไว้ ซึ่งนอกจากจะต้องชำระภาษีรถที่ค้างแล้ว หากปล่อยให้รถค้างชำระภาษีเกิน 3 ปี ทะเบียนรถจะถูกระงับทันที

ในส่วนที่เจ้าของรถได้ขายรถให้ผู้อื่นไป โดยเซ็นเอกสารให้ผู้ซื้อไปดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์เอง หรือที่เรียกว่า “การโอนลอย” หากผู้ซื้อไม่ไปรับโอนกรรมสิทธิ์และปล่อยให้รถค้างชำระภาษี เจ้าของรถคนเดิมจะต้องชำระภาษีรถที่ค้าง เนื่องจากยังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในสมุดคู่มือจดทะเบียนรถอยู่

เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว ผู้ซื้อและผู้ขายควรไปดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ให้เรียบร้อยทันทีที่มีการซื้อ ขาย และการโอนกรรมสิทธิ์รถใช้เวลาดำเนินการไม่เกิน 1 วัน สำหรับรถที่ไม่ค้างชำระภาษี หรือค้างชำระภาษีไม่เกิน 1 ปี สามารถเลือกชำระภาษีได้หลายช่องทาง เช่น บริการ “เลื่อนล้อ ต่อภาษี” (Drive Thru for Tax) “ช็อปให้พอแล้วต่อภาษี” (Shop Thru for Tax) ชำระภาษีรถที่ห้างสรรพสินค้าในวันเสาร์-อาทิตย์ ตลอดจนการออกหน่วยเคลื่อนที่รับชำระภาษีด้วยรถโมบาย

โดยรถเก๋ง รถตู้ รถปิกอัพ และรถจักรยานยนต์ สามารถชำระภาษีรถได้ล่วงหน้า 90 วันก่อนวันสิ้นอายุภาษี เจ้าของรถจึงควรตรวจสอบวันสิ้นอายุภาษีและต่ออายุให้เรียบร้อย ส่วนรถที่เข้าข่ายต้องนำรถเข้ารับการตรวจสภาพก่อนเสียภาษีประจำปีกับสถาน ตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ต้องนำรถเข้ารับการตรวจระบบห้ามล้อ และระบบบังคับเลี้ยวกับ ตรอ.ที่ติดตั้งเครื่องทดสอบห้ามล้อและเครื่องทดสอบศูนย์ล้อรถเท่านั้น เพื่อเป็นการป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางหนึ่งด้วย หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่คอลเซ็นเตอร์ 1584

จากการลงพื้นที่สอบถามเจ้าของรถที่ไม่ยอมต่อภาษี ได้ข้อมูลมาตรงกันว่า ไม่ไปเสียภาษีก็ไม่เห็นมีอะไรเกิดขึ้น ตำรวจก็ไม่ได้ตรวจว่าจ่ายภาษีประจำปีหรือไม่? ตรวจแต่ใบขับขี่ และพ.ร.บ. แน่นอนล่ะ การที่เจ้าของรถที่ไม่ต่อภาษี ทำให้รัฐสูญเงินไปกว่า 4,000 ล้านบาทนั้นถือว่าเป็นจำนวนเงินไม่น้อย สามารถนำไปพัฒนาประเทศได้อีกมาก แต่ที่ข้องใจคือเมื่อรู้ว่าสาเหตุที่รถไม่ต่อทะเบียนเพราะอะไร แล้วทำไมไม่เข้มงวด หรือไม่เร่งประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล แต่กลับปล่อยปละละเลย ทำให้ประเทศชาติได้รับการสูญเสียเป็นดินพอกหางหมู!

เมื่อไม่นานมานี้ ทางกรมฯ ได้ประกาศออกสื่อทีวี ว่า บุคคลที่ไม่ได้อายุภาษีรถยนต์ มากกว่า5 ปี สามารถมาต่อภาษีได้ โดยไม่เสียค่าปรับ แถมยังมีส่วนลดให้อีก
มาคิดดูแบบนี้ ในแง่ของกรมฯ ก็ยังดีกว่าไม่ได้อะไรเลย ในแง่ของเจ้าของรถก็ได้ส่วนลดไป

ไม่ได้ต่อทะเบียนรถมา3ปีต้องทำอย่างไร?
ถ้ารถไม่ได้ใช้งานหรือนำออกมาวิ่งบนท้องถนนหลวง  ไม่ต้องทำอะไร
แต่ต้องการนำมาใช้วิ่งบบถนนหลวง ต้องต่อทะเบียนก่อน  นำรถไปตรวจสภาพที่ขนส่ง และเสียค่าปรับตอนเสียภาษี   คิดจากจำนวนเงินที่ค้างต่อปี  บวกดอกเบี้ย ร้อยละบาท ต่อเดือน
ปกติถ้าไม่ต่อทะเบียนครบ 3 ปี   ทางขนส่งจะยกเลิกเลขทะเบียนรถ ตรวจสอบก่อนว่าทางขนส่งได้ส่งจดหมายยกเลิกทะเบียนแล้วหรือยัง

หากไม่ชำระภาษีเกินสามปี ทะเบียนระงับ ให้ยื่นจดใหม่

เพิ่มเติม
– รถยนต์อายุไม่เกิน 7 ปี ยื่นชำระทาง internet สะดวกมาก
1.ลงทะเบียนผ่านเว็บขนส่ง www.dlte-serv.in.th รับรหัสผ่าน และทำรายการชำระภาษี
2.หากมี พรบ อยู่แล้วให้กรอกเลย หากไม่มีสามารถ คลิ๊กซื้อ พรบ.ด้วยได้เลยค่ะ
3.กรอกข้อมูลต่างๆ แล้ว print ใบชำระเงิน ไปชำระยังจุดรับชำระ เช่นธนาคาร ATM ฯลฯ หรือเลือกให้หักบัญชีธนาคาร/บัตร ก็สะดวกดีค่ะ
4.รอรับป้ายใหม่ 3-4 วันทำการ จะส่งมาทางไปรษณีย์ถึงบ้านเลย ( ค่าส่ง 40.-)

– รถยนต์อายุเกิน 7 ปี >> อย่าลืมตรวจสภาพรถ แล้วนำไปชำระที่บิ๊กซี
1.ตรวจสภาพรถ อู่ที่มีเครื่องหมาย ตรอ.โดยนำ พรบ.(หากไม่มีก็ซื้อที่อู่ได้) + สำเนาทะเบียนรถ ค่าตรวจไม่เกิน 200.-
2.นำเอกสารจาก ตรอ.+พรบ+สำเนาทะเบียนรถ ไปยื่นชำระภาษีที่บิ๊กซี ในวัน เสาร์-อาทิตย์ พร้อมรับป้ายวงกลมกลับมาได้เลย

สำหรับ รถที่ไม่เกิน 7 ปี ถ้าไม่สะดวกทาง internet หรืออยากได้รับป้ายวงกลมทันที ก็สามารถนำ สำเนาทะเบียนรถ + พรบ ไปชำระที่บิ๊กซีได้เช่นกัน
ประหยัดกว่าให้ finance ทำให้ พอจะได้ค่าเหล้าเพิ่มนิดหน่อย \^^!/

เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรมาปรึกษาว่า
นาย ก.ใช้รถจักรยานยนต์ที่ขาดต่อทะเบียนเป็นเวลา 2 ปี
ขณะขับขี่มีคู่มือการจดทะเบียนรถติดตัวทุกครั้ง สวมหมวกกันน๊อกทุกครั้ง สภาพรถมั่นคงแข็งแรง อุปกรณ์ส่วนควบครบถ้วน จัดทำ พ.ร.บ.คุ้มครองฯ เรียบร้อย แต่ผู้ขับขี่ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรได้ออกใบสั่งในความผิดใช้รถไม่จดต่อทะเบียนฯ และไม่มีใบขับขี่ นายก.ก็ไม่นำพา ไม่เคยไปเสียค่าปรับ ได้ทำเรื่องอายัดการจดทะเบียนรถไปยังขนส่งจังหวัดก็ไม่มีผล เพราะนายก.ไม่ไปจดต่อทะเบียน และไม่ยอมไปทำใบขับขี่
ถามว่า จะดำเนินการกับคนอย่างนี้ได้อย่างไร ปัจจุบันนายก.ก็ยังขับขี่รถจักรยานยนต์ผ่านป้อมจราจรทุกวัน (ลอยหน้าลอยตา)

ทำตามขั้นตอนง่ายๆ
1.เกินระยะเวลา 15 วันไม่มาชำระค่าปรับ ก็ดำเนินคดีต่อไป
2.เรียกจราจรที่ออกใบสั่งมาสอบสวนในฐานะผู้กล่าวหา และ สอบจราจรอื่นหรือคนอื่นที่พบเห็นเหตุการณ์ขณะกระทำผิดเป็นพยาน
3.ออกหมายเรียกผู้ต้องหาให้มาพบ ถ้าไม่มาก็ขอให้ศาลออกหมายจับ
4.สรุปสำนวนมีความเห็นตามรูปคดี

๑.อำนาจของเจ้าพนักงานจราจรที่จะออกใบสั่งให้กับผู้ ขับขี่รถ บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จราจร ฯ มาตรา ๑๔๐(ออกใบสั่งได้เฉพาะความผิดที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.จราจรฯเท่านั้น)
๒.ความผิดฐานใช้รถไม่จดต่อทะเบียนฯและไม่มีใบอนุญาตขับขี่ บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.รถยนต์ฯ มาตรา ๖ ,๔๒ ,๖๐,๖๔ (ไม่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานออกใบสั่งให้กับผู้กระทำผิดตาม พ.ร.บ.รถยนต์ฯ)

ดังนั้นเมื่อเจ้าพนักงานพบนาย ก.ขับขี่รถที่ไม่ได้จดต่อทะเบียน และขับขี่รถโดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่ ต้องจับกุมตัวนาย ก.พร้อมแจ้งข้อกล่าวหาให้นาย ก.ทราบและบันทึกการจับกุมไว้ นำตัวนาย ก.ส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีตามกฎหมาย

การออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่รถให้ดู ด้วยว่าฐานความผิดที่จะออกใบสั่งมีกฎหมายให้อำนาจไว้หรือไม่(ต้องผิดเฉพาะ พ.ร.บ.จราจรฯเท่านั้นที่ออกใบสั่งได้)

ความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับรถออกใบสั่งได้ตาม142 แต่ข้อหาไม่มีใบขับขี่ขณะขับรถwไม่สามารถออกใบสั่งได้ เพราะการออกใบสั่งกรณีขับรถจะต้องยึดเอาใบขับขี่มาด้วย เมื่อไม่มีใบขับขี่ก็ออกใบสั่งไม่ได้ กรณีนี้จึงต้องใช้วิธีทำบันทึกการจับกุมรวมสองข้อหา และ อาศัยวิ.อาญา 85 ผู้จับมีอำนาจยึดสิ่งของ ก็ยึดรถที่ขับอยู่เป็นของกลางส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีไปด้วย รถแม้จะไม่ได้ใช้ทำผิด ไม่ได้มีไว้เป็นความผิด แต่ยึดไปเป็นของกลางเพื่อพิสูจน์ความผิดทำได้ เสร็จคดีแล้วก็คืนไป

แต่กรณีนี้ ที่บอกว่ารถมีสภาพมั่นคงแข็งแรง ตำรวจผู้จับไม่ใช่ช่างผู้ชำนาญการตรวจสภาพของกรมการขนส่งทางบกผู้มีหน้าที่ ในเรื่องนี้ เมื่อจับส่งร้อยเวรแล้ว ก็ให้ร้อยเวรส่งรถของกลางไปให้นายทะเบียนขนส่งท้องที่ออกป้ายทะเบียน ตรวจสภาพความมั่นคงแข็งแรง เพื่อประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับสภาพความมั่นคงแข็งแรงของรถ ตาม พรบ.รถยนต์ ม. 12 ถ้าไม่มั่นคงแข็งแรงนายทะเบียนมีอำนาจสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนรถ และ รถของกลางไม่เสียภาษีประจำปี นายทะเบียนมีอำนาจ ตาม ม.35 แจ้งให้ไปชำระ ฝ่าฝืนนายทะเบียนมีอำนาจยึดรถนั้นไว้ได้

สรุปก็คือใช้อำนาจของ การจับตาม วิ.อาญา อำนาจของพงสฯ และอำนาจของนายทะเบียน

การใช้รถยนต์ จยย.บนถนน กฎหมายให้จดทะเบียนเสียภาษีทุกปี เรียกว่าเสียกันปีต่อปี ปีใดไม่เสีย และคดีขาดอายุความแล้ว ทำอะไรไม่ได้ เพราะดคีดังกล่าวเลิกกันไปแล้ว แต่ในปีปัจจุบัน ถ้ายังไม่ได้ไปจดทะเบียนเสียภาษี ปีนั้นยังดำเนินการได้ ปรับก็ไม่ยอม คนแบบนี้ต้องส่งเรื่องไปฟ้องศาลเลย เมื่อกฎหมายให้ทำได้แค่ไหน ก็ทำแค่นั้น ไม่ต้องไปคิดมาก

ข้อกฎหมาย พ.ร.บ.รถ ยนต์ 2552

มาตรา ๖ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถที่ยังมิได้จดทะเบียน
ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถที่จดทะเบียนแล้ว แต่ยังมิได้เสียภาษีประจำปีสำหรับรถนั้นให้ครบถ้วนถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด

บทลงโทษ มาตรา ๖๐ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖ วรรคสองและวรรคสาม มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๗ วรรคหนึ่งและวรรคสอง มาตรา ๑๘ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๐ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๑ มาตรา ๒๒ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง มาตรา ๕๖ หรือมาตรา ๕๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท

มาตรา ๓๒ เจ้าของรถมีหน้าที่เสียภาษีประจำปี
ภาษีประจำปีให้เสียล่วงหน้าคราวละหนึ่งปี ถ้ามิได้เสียภาษีภายในเวลาที่กำหนดให้เจ้าของรถนั้นชำระเงินเพิ่มอีกร้อยละหนึ่งต่อเดือนหรือเศษของเดือนของจำนวนภาษีที่ต้องชำระ

เงินเพิ่มตามมาตรานี้ให้ถือเป็นเงินภาษี
รถที่ได้เสียภาษีประจำปีสำหรับปีใด ถ้าเปลี่ยนเจ้าของรถ เจ้าของใหม่ไม่ต้องเสียภาษีประจำปีในปีนั้นอีก

ฐานความผิด บทมาตรา และอัตราโทษ ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง พ.ศ.2537)

 

ลำดับ

ข้อหาหรือฐานความผิด

อัตราโทษ

1

ใช้รถไม่จดทะเบียนปรับไม่เกิน 10,000 บาท

2

ใช้รถไม่เสียภาษีประจำปีภายในเขตกำหนดปรับไม่เกิน 2,000 บาท

3

ใช้รถไม่แสดงเครื่องหมายเสียภาษีปรับไม่เกิน 2,000 บาท

4

ใช้รถไม่มีแผ่นป้ายทะเบียนปรับไม่เกิน 2,000 บาท

5

ใช้รถที่มีส่วนควบหรือเครื่องอุปกรณ์ไม่ครบถ้วนปรับไม่เกิน 2,000 บาท

6

เปลี่ยนแปลงสีของรถผิดจากที่จดทะเบียนไว้ปรับไม่เกิน 2,000 บาท

7

เปลี่ยนปลงตัวรถหรือ ส่วนใดส่วนหนึ่งของรถให้ผิดจากไปที่ จดทะเบียนปรับไม่เกิน 2,000 บาท

8

ขับ รถยนตร์ที่มีไว้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม (รถป้ายแดง) ระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น เวลากลางคืน) โดยไม่มีความจำเป็นและได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนปรับไม่เกิน 2,000 บาท

9

ขับรถโดยไม่ได้รับอนุญาตขับรถจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

10

ขับรถโดยไม่มีใบอนุญาตขับรถที่จะแสดงได้ทันที (เว้นแต่ผู้ฝึกหัดขับรถตาม)ปรับไม่เกิน 1,000 บาท

11

ขับรถไม่มีสำเนาภาพถ่ายใบคู่มือจดทะเบียนรถที่จะแสดงได้ทันทีปรับไม่เกิน 1,000 บาท

12

ยินยอมให้ผู้ซึ่งไม่มีใบอนุญาตขับรถ เข้าขับรถของตนปรับไม่เกิน 2,000 บาท

13

รับจ้างรถบรรทุกคนโดยสาร โดยใช้รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสาร ไม่เกิน 7 คน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนปรับไม่เกิน 10,000 บาท

14

ขับรถระหว่างถูกยึดใบอนุญาตขับรถปรับไม่เกิน 2,000 บาท

15

ใช้เครื่องหมายที่นายทะเบียนออกให้สำหรับรถคันหนึ่งกับรถ อีกคันหนึ่งปรับไม่เกิน 1,000 บาท

รถที่ขาดต่อภาษี ตร.เจอจับปรับ ตามพ.ร.บ.รถยนต์ ม.6 ได้ทุกครั้งที่พบ ไปจนกว่าจะต่อภาษีให้เรียบร้อย ส่วนที่ขนส่งจะให้เราเสียเพิ่มตามอัตรา กฏหมายกำหนด มันคนละเรื่องกัน
โดยหลักทั่วไปของกฎหมายอาญาแล้วจะยึดหลัก “ไม่มีบุคคลใดเดือดร้อนซ้ำสองจากการกระทำเพียงครั้งเดียว” เมื่อคุณถูกลงโทษแล้ว คุณจะไม่ถูกลงโทษซ้ำอีก กรณีของค่าปรับ กับ เงินเพิ่ม มิใช่การลงโทษซ้ำซ้อนให้คุณเดือดร้อนถึงสองครั้ง แต่ค่าปรับและเงินเพิ่มมีความแตกต่างกันดังนี้

ค่าปรับ เป็นโทษทางอาญา มีเจ้าพนักงานที่รักษาการตามพรบ.นั้นๆ(ในที่นี้คือพรบ.รถยนต์) เป็นผู้มีอำนาจเปรียบเทียบ หรือหากไม่ยอมปรับคุณก็ต้องไปขึ้นศาลชำระความกัน วัตถุประสงค์ของเรื่องนี้คือ การลงโทษ ให้หลาบจำ

เงินเพิ่ม มิใช่โทษทางอาญา วัตถุประสงค์ของเงินเพิ่มนั้นมิได้อยู่ที่การลงโทษ แต่เป็นเรื่องของค่าเสียโอกาสที่รัฐจะได้รับเงินในเวลาที่กำหนด(ในที่นี้คือกำหนดเวลาต่อทะเบียน) สมมติตัวอย่างนี้ครับ หากรัฐไม่ได้เงินภาษีของคุณ รัฐก็จะต้องไปกู้เงินแหล่งอื่นนำมาใช้จ่าย ซึ่งรัฐต้องเสียดอกเบี้ยนับตั้งแต่ครบกำหนดระยะเวลาชำระภาษีถึงระยะเวลาที่คุณชำระภาษีเสร็จ ดอกเบี้ยส่วนนี้เอง ที่รัฐขอเก็บเพิ่มจากคุณในรูปแบบเงินเพิ่ม

อัตราค่าปรับ  พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522

ข้อกล่าวหา

ค่าปรับ

  ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร300 บาท
  ฝ่าฝืนสัญญาณมือ300 บาท
  ขับรถไม่ชิดขอบทางด้านซ้าย200 บาท
  ขับรถในลักษณะกีดขวางการจราจร400 บาท
  ขับรถโดยประมาทหรือหวาดเสียว400 บาท
  แซงรถในที่คับขัน400 บาท
  เลี้ยวหรือกลับรถในที่ที่มีเครื่องหมายห้าม400 บาท
  กลับรถในที่คับขัน ทางร่วม ทางแยก400 บาท
  ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย200 บาท
  จอดรถในที่ที่มีเครื่องหมายห้าม200 บาท
  จอดรถซ้อนคัน200 บาท
  ไม่สวมหมวกนิรภัย200 บาท
  ฝ่าฝืนเครื่องหมายห้ามเข้า200 บาท
  ไม่ขับรถตามทิศทางที่กำหนด (ย้อนศร)200 บาท
  เดินรถผิดช่องทางเดินรถ400 บาท
  จอดรถไม่ชิดขอบทางด้านซ้าย400 บาท
  ใช้วัสดุกรองแสงผิดกฎหมาย400 บาท

อัตราค่าปรับ พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522

ข้อกล่าวหา

ค่าปรับ

  ใช้รถที่ยังไม่จดทะเบียนเสียภาษี1,000 บาท
  ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน   200 บาท
  อุปกรณ์ไม่ครบถ้วน   200 บาท
  เปลี่ยนแปลงสภาพรถ1,000 บาท
  ขาดต่อภาษีประจำปี   200 บาท
  ไม่มีใบอนุญาติขับขี่   200 บาท
  ขับรถที่มีไว้เพื่อการขายหรือเพื่อซ่อมในเวลากลางคืน   200 บาท
  ใช้รถไม่ตรงกับประเภทที่ได้จดทะเบียนไว้   200 บาท
  ไม่มีสำเนาภาพถ่ายคู่มือการจดทะเบียนรถ   200 บาท
  เปลี่ยนแปลงสี, เครื่องยนต์ ไม่แจ้งต่อนายทะเบียน1,000 บาท
  ใช้โคมไฟหน้า,ไฟท้าย,ไฟเลี้ยว ไฟตัดหมอก (ไฟสปอร์ไลท์)
ผิดกฎกระทรวง
    200 บาท
  ปิดบังแผ่นป้ายทะเบียนทั้งหมดหรือบางส่วนของแผ่นป้ายทะเบียน    200 บาท
  ไม่ติดแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปี    200 บาท
  ไม่ติดเครื่องหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสพภัย1,000 บาท
  ท่อไอเสียเสียงดัง1,000 บาท




สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow